หน้ามืดบ่อยระวัง! อาการความดันต่ำ แนะวิธีป้องกัน ดูแล รักษา

หน้ามืดบ่อยระวัง! อาการความดันต่ำ แนะวิธีป้องกัน ดูแล รักษา

แชร์ได้เลยค่ะ

หากคุณมีอาการหน้ามืดบ่อย ปวดหัวบ่อย เหนื่อยง่ายผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เจ็บป่วย ไม่ได้มีไข้ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณอาจกำลังมีอาการความดันต่ำ (Hypotension) อยู่ก็เป็นได้ เพราะอาการความดันต่ำ เป็นภัยเงียบ ที่เข้ามาทำลายสุขภาพ แบบที่เราไม่ค่อยรู้ตัว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ มักมาจากการไม่ใส่ใจสุขภาพ รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ จนขาดสารอาหาร การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ และ ไม่ออกกำลังกายนั่นเอง หากคุณอยากรู้ว่า ความดันต่ำ อาการเป็นอย่างไร ความดันต่ำ กินอะไรถึงจะดี อาหารอะไรที่ควรเลี่ยง เราจะดูแลสุขภาพ และ รักษาความดันต่ำอย่างไรได้บ้าง เราได้รวบรวมคำตอบมาให้ทั้งหมดแล้ว

อาการความดันต่ำ คือ ภัยเงียบ ต้องระวัง มักทำให้หน้ามืด เหนื่อยง่าย เป็นลมวูบ อาจหมดสติได้

อาการความดันต่ำ คืออะไร

ค่าความดันโลหิตค่าบน ต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท และ ค่าล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท หรือ 90/60 มิลลิเมตรปรอท 
ถือว่า มีอาการความดันต่ำ

ต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่า โดยปกติแล้ว ค่าความดันโลหิต จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ค่า ดังนี้

1. ความดันโลหิตค่าบน หรือ ค่าความดันโลหิตซีสโตลิค (Systolic blood pressure) คือ แรงดันโลหิต ในขณะที่หัวใจบีบตัวเต็มที่ 

2. ความดันโลหิตค่าล่าง หรือ ค่าความดันโลหิตไดแอสโตลิค (Diastolic blood pressure) คือ แรงดันโลหิต ในขณะที่หัวใจคลายตัวเต็มที่ ซึ่งค่าความดันเหล่านี้ จะมีการเปลี่ยนแปลง ตามอิริยาบถของเรา เช่น นั่ง เดิน นอน ออกกำลังกาย เป็นต้น 

โดยค่าความดันโลหิตค่าบน และ ค่าล่างนี้ จะเป็นตัวบ่งบอกว่า เรามีความดันโลหิตปกติ หรือ มีอาการความดันต่ำ หรือ มีอาการความดันสูงได้ ซึ่งค่าความดันโลหิตปกติ ค่าบนควรอยู่ประมาณ 120 – 129 มิลลิเมตรปรอท และ ค่าล่างควรอยู่ประมาณ 80 – 84 มิลลิเมตรปรอท หรือ เขียนให้เข้าใจง่าย ๆ คือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท นั่นเอง

“แต่ถ้าค่าความดันโลหิตค่าบน ต่ำกว่า 90 และ ค่าล่างต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท 
หรือ 90/60 มิลลิเมตรปรอท 
ถือว่า มีอาการความดันต่ำนั่นเอง”

อาการความดันต่ำ เกิดจากอะไร 

หากถามว่า อาการความดันต่ำ เกิดจากอะไร ต้องบอกเลยว่า อาการความดันต่ำเกิดจากหลายสาเหตุมาก ไม่ว่าจะเป็น

  • อาการความดันต่ำเกิดจากพันธุกรรม หากบุคคลในครอบครัว มีประวัติเป็นความดันต่ำ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นกับตัวเองได้
  • อาการความดันต่ำเกิดจากอายุ โดยอายุมากขึ้น ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิด อาการความดันต่ำ มากขึ้น
  • อาการความดันต่ำเกิดจากภาวะขาดน้ำ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี เลือดไหลเวียน และ กลับเข้าสู่หัวใจได้น้อย ทำให้หัวใจบีบตัวน้อยลง จนเกิดอาการความดันต่ำ นั่นเอง
  • อาการความดันต่ำเกิดจากการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น โปรตีน วิตามินบี วิตามินซี ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดง คลายตัว หรือ อ่อนแอมากเกินเกินไป
  • อาการความดันต่ำเกิดจากภาวะโลหิตจาง ทำให้ความเข้มข้นของเลือด ลดน้อยลง ทำให้เกิดความดันต่ำ  
  • อาการความดันต่ำเกิดจากการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว เช่น ลุกขึ้นยืนเร็ว ลุกจากที่นอนเร็ว ซึ่งทำให้ความดันต่ำ อาการหน้ามืด เวียนศีรษะบ่อยนั่นเอง
  • อาการความดันต่ำเกิดจากขาดการออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี
  • อาการความดันต่ำเกิดจาก การกระตุ้นสมอง และ วงจรประสาทอัตโนมัติ เช่น ยืนกลางแดด รู้สึกกลัว ตกใจ การอาบน้ำอุ่น การหยุดพักกะทันหันตอนออกกำลังกาย เป็นต้น ทำให้หลอดเลือด และ หัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ความดันต่ำลง 
  • อาการความดันต่ำเกิดจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อ การเสียเลือด
  • อาการความดันต่ำเกิดจากโรคหัวใจ ซึ่งทำให้จังหวะบีบตัวของหัวใจ ผิดปกติ จึงลดแรงดันในหลอดเลือด ส่งผลให้มีอาการความดันต่ำนั่นเอง
  • อาการความดันต่ำเกิดจากโรคต่อมไร้ท่อ ที่ทำให้ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของ หัวใจ หลอดเลือด ผิดปกติ ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี จนเกิดอาการความดันต่ำได้ 
  • อาการความดันต่ำเกิดจากการตั้งครรภ์ มักเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนแรกที่ตั้งครรภ์ เพราะร่างกายต้องเพิ่มเลือด ไปหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ ทำให้การไหลเวียนของเลือด หรือ ปริมาณของเลือดในร่างกายลดลง จนมีอาการความดันต่ำได้
  • อาการความดันต่ำเกิดจากผลข้างเคียงของการกินยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาต้านซึมเศร้า ยาสำหรับโรคพาร์กินสัน เป็นต้น

อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร

อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร
หน้ามืด 
วิงเวียนศีรษะ 
เป็นลม  
เดินแล้วรู้สึกทรงตัวไม่อยู่
เหนื่อยง่ายผิดปกติ                     
ใจสั่น เต้นแรง
ตาลาย สายตาพร่ามัว
อ่อนเพลีย อยากนอนตลอดเวลา
หายใจตื้น หายใจถี่ หรือ หายใจเร็ว
คลื่นไส้ อาเจียน 
กระหายน้ำ
มีเหงื่อออกเยอะผิดปกติ
ตัวเย็น หน้าซีด ผิวซีด
หนาวสั่น

เมื่อทราบแล้วว่า อาการความดันต่ำ เกิดจากอะไร ทีนี้เรามาดูกันว่า อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร จะได้ลองสังเกตตัวเองดู ว่ากำลังมีอาการเหล่านี้ เกิดขึ้นกับตัวเองบ่อยครั้งหรือไม่

  • หน้ามืด 
  • วิงเวียนศีรษะ 
  • เป็นลม  
  • เดินแล้วรู้สึกทรงตัวไม่อยู่
  • เหนื่อยง่ายผิดปกติ                     
  • ใจสั่น เต้นแรง
  • ตาลาย สายตาพร่ามัว
  • อ่อนเพลีย อยากนอนตลอดเวลา
  • หายใจตื้น หายใจถี่ หรือ หายใจเร็ว
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • กระหายน้ำ
  • มีเหงื่อออกเยอะผิดปกติ
  • ตัวเย็น หน้าซีด ผิวซีด
  • หนาวสั่น

หากคุณเช็คแล้วว่า ตัวเองมีอาการตามที่เราบอกไปข้างต้นบ่อยครั้ง โดยไม่ต้องครบทุกข้อก็ได้ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อวัดค่าความดันโลหิต ตรวจเช็คดูว่า คุณเป็นความดันต่ำจริงหรือไม่ หากใช่จะได้ค้นหาสาเหตุว่า ตัวเองมีอาการความดันต่ำ เกิดจากอะไร จะได้รีบรักษานั่นเอง เพราะหากความดันต่ำไม่รุนแรง หรือ วัดค่าความดันออกมาแล้ว ผลออกมาว่าเป็นความดันต่ำจริง แต่ไม่มีอาการใด ๆ ตามที่เราบอก แสดงออกมาเลย ก็ยังถือว่าสุขภาพแข็งแรงอยู่ แพทย์ก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อปรับสมดุลความดันภายในร่างกายแทน

ความดันต่ำ กินอะไรดี กินอะไรแย่ รวมเทคนิคป้องกัน ดูแลตัวเอง

ความดันต่ำ กินอะไรดี กินอะไรแย่ รวมเทคนิคป้องกัน ดูแลตัวเอง
1. น้ำเปล่า วันละ 8 - 10 แก้ว/วัน  
2. แบ่งทานอาหารเป็นมื้อย่อย หลายๆ มื้อ
3. เน้นกินผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 
4. จำกัดปริมาณโซเดียมต่อวัน ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม/วัน   
5. จำกัดคาร์โบไฮเดรต 
6. กินอาหารเสร็จ ให้นั่งพักสักครู่ 
7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 
8. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
9. ยืดเส้นร่างกายทุกเช้า  
10. ออกกำลังกายเป็นประจำ  
11. ไม่ควรเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว  
12. เลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน   
13. หากอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน ให้ดื่มน้ำให้มากขึ้น  
14. ไม่อาบน้ำร้อน หรือ ทำสปา แช่น้ำร้อน 
15. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนยกศีรษะสูงกว่าปกติ
16. งดสูบบุหรี่
17. ตรวจความดันอย่างสม่ำเสมอ
18. ตรวจสุขภาพประจำปี

เราสามารถป้องกัน และ ควบคุมอาการความดันต่ำได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง ต้องรู้ว่าความดันต่ำ กินอะไรถึงจะดี ความดันต่ำ กินอะไรที่จะทำให้ร่างกายแย่ลง รวมไปถึงเทคนิคการดูแลตัวเองอื่น ๆ ดังนี้ 

  1. ดื่มน้ำเปล่า วันละ 8 – 10 แก้ว/วัน เพราะน้ำเปล่าจะช่วยเพิ่มปริมาณเลือด ช่วยป้องร่างกายขาดน้ำ ภาวะโลหิตจาง ที่นำไปสู่อาการความดันต่ำได้ อีกทั้งทำให้ร่างกาย รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นได้ด้วย
  2. หากเป็นความดันต่ำ กินอะไรก็แล้วแต่ ไม่ควรกินให้อิ่มจนเกินไป เช่น การกินอาหารแต่ละมื้อ ให้แบ่งทานเป็นมื้อย่อย หลาย ๆ มื้อแทน เป็นต้น
  3. กินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน 
  4. กินอาหารที่ มีส่วนประกอบของเกลือได้ เพราะโซเดียมช่วยทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น แต่ต้องจำกัดปริมาณต่อวัน ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม/วัน   
  5. จำกัดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต 
  6. ความดันต่ำ กินอะไรเสร็จแล้ว ให้นั่งพักสักครู่ ก่อนลุกไปทำอย่างอื่น
  7. หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน เพราะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดความดันต่ำมากขึ้น
  8. สามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่ต้องจำกัดการดื่ม เพราะแต่ละคนมีปริมาณการดื่ม ที่เหมาะสม แตกต่างกันออกไป ซึ่งต้องคำนวณอย่างละเอียด แต่ทางที่ดีไม่ควรใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแง่การรักษาความดันต่ำ เพราะช่วยได้เพียงชั่วขณะเท่านั้น หากสามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จะดีกว่า เพราะท้ายสุดแล้วจะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำมากกว่าเดิม
  9. ยืดเส้นร่างกายทุกเช้า หลังตื่นนอน เพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้น
  10. ออกกำลังกายเป็นประจำ 3 – 4 วัน/สัปดาห์ 
  11. หากต้องการเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกจากที่นอน นั่งเก้าอี้แล้วลุกขึ้นยืน ไม่ควรเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว เพราะการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อระดับความดันด้วยเช่นกัน อาจทำให้หน้ามืดหรือวูบได้ 
  12. หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องยืนนาน ให้หาถุงน่องมาใส่ เพราะถุงน่องจะช่วยบีบรัด ให้เกิดแรงดันที่เท้า ขา และหน้าท้อง มีส่วนช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต และ ปรับระดับความดันโลหิตให้สมดุลปกติ ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใส่ เพราะการใส่ถุงน่อง ไม่ได้เหมาะกับผู้ที่มีอาการความดันต่ำทุกคน 
  13. หากอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน หรือ อบอ้าว ให้พยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ที่จะส่งผลให้ระดับความดันต่ำลง
  14. ไม่ควรอาบน้ำร้อน หรือ ทำสปา แช่น้ำร้อนเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้หน้ามืด เวียนศีรษะ และวูบได้ง่าย
  15. พักผ่อนให้เพียงพอ เวลานอนให้ยกศีรษะ สูงกว่าปกติ
  16. งดสูบบุหรี่
  17. ตรวจเช็คระดับความดันอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ วัน
  18. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

รู้หรือไม่? ยาสมุนไพรไทย รักษาความดันต่ำได้ ถึงต้นเหตุด้วย 

การรักษาความดันต่ำที่ดี นอกจากการปรับสมดุล ระดับความดันโลหิตภายในร่างกาย ด้วยการกินอาหารที่ดี หลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำลายสุขภาพแล้ว การกินยารักษาความดันต่ำ ถือว่าสำคัญในแง่การรักษาในผู้ที่มีระดับความดันต่ำมากเช่นกัน แต่การกินยารักษาความดันต่ำที่ดี ควรเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ในการฟื้นฟูระดับความดันโลหิต ได้ลึกถึงเซลล์ภายใน และฟื้นฟูถึงต้นเหตุได้ด้วย

ซึ่งยาสมุนไพร ที่สกัดจากสมุนไพรไทย สามารถตอบโจทย์ได้ดี เนื่องจากประสิทธิภาพของยาสมุนไพร ตามหลักแพทย์แผนไทยแล้ว ตัวยาจะเข้าไปปรับสมดุลในร่างกายตามหลักธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ทำให้ระดับความดันค่อย ๆ สมดุลปกติ แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฝืนธรรมชาติ ไม่สูงเกินไป สามารถรักษาได้ลึกถึงต้นเหตุของโรค อย่างยั่งยืน อีกทั้งไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีตกค้างในร่างกาย เหมือนยาเคมี ที่หากกินไปนาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อตับ ไต ให้เสื่อมขึ้นได้อีกเช่นกัน

พอกันที! หน้ามืด ปวดหัว เวียนหัวบ่อย เพราะความดันต่ำ อาการความดันต่ำดีขึ้นได้ สุขภาพดีขึ้น ด้วยยาสมุนไพรรักษาความดันต่ำ ตรีผลา FORTE หมออรรถวุฒิ  
สกัดสมุนไพร 22 ชนิด

ยาสมุนไพรรักษาความดันต่ำ “ตรีผลา FORTE” จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ เป็นหนึ่งในยาสมุนไพรรักษาความดันต่ำ ที่สกัดจากสมุนไพร 100% พิถีพิถันตั้งแต่กรรมวิธีการเลือกสมุนไพร มาเป็นส่วนประกอบในตัวยา การเก็บเกี่ยวสมุนไพร ที่สด ใหม่ การใช้เทคนิคสกัดยาเฉพาะ เพื่อให้ได้สารสำคัญ ตัวยา ออกฤทธิ์ดี ครบถ้วน ที่สำคัญคือ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นยา ผ่านการรับรอง และ ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ จาก อย. มาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตรีผลา FORTE ประกอบไปด้วยสมุนไพร มากถึง 22 ชนิด เช่น

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 ได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล
  • สารสกัดดอกคำฝอย
  • สารสกัดดีปลี 
  • สารสกัดขิงแห้ง
  • สารสกัดเจตมูลเพลิง
  • สารสกัดลูกจันทร์
  • สารสกัดดอกจันทร์
  • สารสกัดกระวาน 
  • สารสกัดกานพลู 
  • สารสกัดทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง ฯลฯ 

ซึ่งสารสกัดจากสมุนไพรทั้งหมดนี้ จะเข้าไปเคลียร์ผนังหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น หัวใจเต้นปกติ อาการความดันต่ำ เช่น หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย รู้สึกเหมือนจะเป็นลม สายตาพร่ามัว ฯลฯ จะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้นด้วย

ที่สำคัญคือ ยาสมุนไพรรักษาความดันต่ำ ตรีผลา FORTE จะช่วยปรับระดับความดันให้สมดุลปกติ อีกทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันในเลือด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ ล้างพิษตับ ล้างน้ำเหลืองเสีย ขับไขมันสะสม ของเสีย พิษต่าง ๆ ขับออกพร้อมน้ำดี ผ่านออกมากับอุจจาระ และ ปัสสาวะ อีกด้วย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top