5 วิธีรักษาความดันสูง ฉบับเข้าใจง่าย

5 วิธีรักษาความดันสูง ฉบับเข้าใจง่าย

แชร์ได้เลยค่ะ

ความดันสูง (Hypertension) เกิดจากความดันเลือด ภายในหลอดเลือดแดง สูงกว่าปกติ คือ อยู่ในระดับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งปกติแล้ว คนเราจะมีค่าความดันโลหิตปกติ อยู่ในระดับ 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยสาเหตุหลักกว่า 90% ที่ทำให้ความดันสูงขึ้นมานั้น เกิดจากกรรมพันธุ์ และ อายุที่มากขึ้น นอกจากนี้โรคความดันสูง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ชอบดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือ ผู้ที่เป็นโรคไต โรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ซึ่งถือว่าอันตราย ดังนั้นจำเป็นจะต้องรักษาความดันสูง ให้ค่าความดันโลหิตปกติ ทั้งนี้การรักษาความดันสูง สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการพบแพทย์เพื่อทานยา การใช้สมุนไพรลดความดันสูง การใช้ยาสมุนไพรแก้ความดันสูง ฯลฯ ซึ่งแต่ละวิธีเป็นอย่างไร ต้องทำอะไรบ้าง เรารวบรวมข้อมูลแบบกระชับ เข้าใจง่าย มาฝากทุกคนกัน

อย่ากินยารักษาความดันสูงแบบมั่วๆ เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพ มากกว่ารักษาให้หายได้

ต้องรู้! หัวใจหลักการลดความดันสูง คืออะไร

หัวใจหลักการลดความดันสูง คือ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

ก่อนจะรักษาความดันสูง จำเป็นต้องทราบว่า หัวใจหลักของการรักษาความดันสูง คือ “การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต” ต้องรู้ว่าอะไรที่ควรทำ อะไรที่ควรเลี่ยง เพราะต่อให้กินยารักษาความดันสูง แล้วไม่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต อาการก็จะไม่ดีขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการทานยา จึงไม่ใช้ทางออกที่ดีที่สุด แต่ควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นหลัก และให้ยาเป็นตัวเสริมในการรักษา ซึ่งผู้ป่วยความดันสูง ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้  

สิ่งที่ควรทำ เมื่อรักษาความดันสูง ด้วยตัวเอง

  1. หากเป็นโรคอ้วน หรือ น้ำหนักเกินมาตรฐาน จำเป็นต้องลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารด้วย
  2. อาหารมีผลต่อระดับความดันสูง ควรรับประทานอาหาร ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ด้วยการใช้ทฤษฎี 2:1:1 คือ ผัก 2 ส่วน : ข้าว 1 ส่วน : ผัก 1 ส่วน
  3. รับประทานข้าว หรือ แป้ง ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เพราะมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมน้ำหนัก ป้องกันการเกิดอาการความดันสูง เบาหวาน ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย  
  4. รับประทานถั่ว หรือ ธัญพืช แบบไม่อบเกลือ เพื่อเพิ่มแมกนีเซียม โพแทสเซียม โปรตีน ไฟเบอร์ ไขมันดี ให้กับร่างกาย ทำให้ความดันสูง คอเลสเตอรอลลดลง  
  5. รับประทานผัก และ ผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผักโขม อโวคาโด้ มะเขือเทศ ลูกพรุน สับปะรด แอปเปิ้ล แตงโม กล้วย
  6. รับประทานผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ เพราะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavoniods) ช่วยป้องกันความดันสูง ลดระดับความดันโลหิต ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น สามารถต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย
  7. รับประทานอาหาร ที่มีสมุนไพรลดความดันสูงเป็นส่วนประกอบ เช่น กระเทียม ขิง กระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
  8. ใช้น้ำมันพืช ประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ที่มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สารโพลีฟีนอล (Polyphenol) กรดไขมันโอเมก้า-3 มีสารต้านอนุมูลอิสระ ฯลฯ ซึ่งดีกว่าการใช้น้ำมันจากสัตว์
  9. ดื่มน้ำสะอาด วันละ 8 แก้ว/วัน
  10. ความดันสูง ออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สุขภาพจิตดี แต่ก่อนออกกำลังกาย จำเป็นปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อน เพราะหากความดันสูงมาก ก็จำเป็นต้องรักษาความดันสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถออกกำลังกายได้ก่อน มิเช่นนั้นอาจทำให้อาการความดันสูง กำเริบขึ้นมาได้
  11. พักผ่อนให้เพียงพอ

สิ่งที่ควรเลี่ยง เมื่อรักษาความดันสูง ด้วยตัวเอง

  1. หากความดันสูง อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงอันดับแรก คือ อาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม ที่มีโซเดียมสูง เช่น ส้มตำ ยำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป การปรุงรสด้วยน้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ผงชูรส น้ำจิ้ม ฯลฯ ควรลดปริมาณโซเดียมในมื้ออาหาร โดยจำกัดปริมาณโซเดียม ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม/วัน  
  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน หมูกรอบ ของมัน ของทอด แกงกะทิ เป็นต้น
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน เบเกอรี่ ไอศกรีม
  4. งดอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาร้า เต้าเจี้ยว ปลาเค็ม  
  5. งดอาหารแปรรูปทุกชนิด เช่น หมูยอ หมูแผ่น ไส้กรอก โจ๊กกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง
  6. งดอาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง หอยนางรม ปลาหมึก เป็นต้น 
  7. ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมบางชนิด เช่น ชีส เนย ครีม
  8. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ ค็อกเทล  
  9. เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง

ยารักษาความดันสูง แผนปัจจุบัน

การรักษาความดันสูง ด้วยยาแผนปัจจุบัน เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คอาการก่อน พอแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า เป็นความดันสูงจริง ก็จะทำการจ่ายยาให้ ทั้งนี้การจ่ายยา ก็ขึ้นอยู่กับระดับความดันโลหิต เพราะผู้ป่วยแต่ละราย มีค่าความดันสูง – ต่ำ ไม่เท่ากัน รวมไปถึงสาเหตุของการเกิดโรค ดังนั้นยารักษาความดันสูงแผนปัจจุบันแต่ละชนิด ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ซึ่งยารักษาความดันสูงที่นิยมใช้ เช่น

1. กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน (Angiotensin receptor blockers)

ยารักษาความดันสูง กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน เช่น ยาแคนดีซาร์แทน (Candesartan) ยาอีโพรซาร์แทน (Eprosartan) ยาโอล์มีซาร์แทน (Olmesartan) ที่มีส่วนช่วยยับยั้งเอนไซม์ ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดตีบตัว ยับยั้งโปรตีนไม่ให้จับกับเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดขยายตัวออก ความดันโลหิตจึงลดลง โดยมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผื่นขึ้น เป็นต้น

2. กลุ่มยาขับปัสสาวะ (Diuretics)

ยารักษาความดันสูง กลุ่มยาขับปัสสาวะ เช่น ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) ยาไธอาไซด์ (Thiazide Diuretics) ยาฟูโรซีมายด์ (Furosemide) ยาอะมิโลรายด์ (Amiloride) เป็นยารักษาความดันสูง ที่มีหน้าที่ขับเกลือ ขับโซเดียมออกจากร่างกาย ผ่านทางปัสสาวะ จึงทำให้ผู้เป็นความดันสูง ปัสสาวะบ่อย อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ และ ระดับไขมันในเลือดสูงได้

3. กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ (Calcium Channel Blockers)

ยารักษาความดันสูง กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ เช่น ยาไนเฟดิปีน (Nifedipine) ยาแอมโลดิปีน (Amlodipine) ยาดิลไทอะเซม (Diltiazem) มีส่วนช่วยปิดกั้นการไหลของแคลเซียม เข้าสู่เซลล์ ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลงได้ แต่ผลข้างเคียง เช่น อาจทำให้ใจสั่น ท้องผูก วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม เป็นต้น

4. กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า (Beta Blockers)

ยารักษาความดันสูง กลุ่มยาปิดกั้นเบต้าเช่น ยาโพรพราโนลอล (Propranolol) ยาอะทีโนลอล (Atenolol) ยาเมโตโปรลอล (Metoprolol) เป็นยาที่ใช้รักษาความดันสูง รวมถึงหัวใจเต้นปกติ ไมเกรน ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป เป็นต้น มักจะถูกนำมาใช้ในผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือ มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่มีความดันสูง เพื่อให้หัวใจเต้นช้าลง ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ เช่น ซึมเศร้า เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ที่สำคัญห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง เพราะมีผลต่อปอดด้วย

5. กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง (Direct-acting vasodilators)

ยารักษาความดันสูง กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง เช่น ยาไฮดราลาซีน (Hydralazine) โซเดียมไนโตรพลัสไซด์ (Sodium nitroprusside) ยาไมนอกซิดิล (Minoxidil) ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโดยตรง ช่วยลดแรงต้านทานในหลอดเลือด จึงทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้ โดยผลข้างเคียงของยารักษาความดันสูงกลุ่มนี้ เช่น หน้าแดง ใจสั่น ปวดศีรษะ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า ยารักษาความดันสูง แผนปัจจุบัน เป็นยาเคมี ข้อดีคือ เห็นผลการรักษาเร็ว แต่มีผลข้างเคียง จึงไม่เหมาะกับการทานระยะยาว จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะยาบางกลุ่มห้ามใช้ร่วมกัน ห้ามปรับ เปลี่ยน หรือ ลดยาเองเด็ดขาด เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ที่สำคัญยารักษาความดันสูงแผนปัจจุบัน เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ไม่ได้เข้าไปฟื้นฟูเซลล์ในร่างกายแบบลงลึก ถึงต้นเหตุของโรค จึงจำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเกิดการสะสมของสารเคมีในร่างกายได้นั่นเอง

อาหารเสริม ลดความดัน ช่วยได้จริงไหม?

หลายต่อหลายคนพอทราบว่าตัวเอง หรือ คนใกล้ชิด เป็นความดันสูง ก็เลยมองหาตัวช่วยอย่างอาหารเสริม ลดความดัน มาใช้ในการรักษาความดันด้วยตัวเอง ซึ่งความจริงแล้วหลายคนอาจไม่ทราบว่า “อาหารเสริม ลดความดัน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาหารเสริม ไม่สามารถป้องกัน บำบัด บรรเทา หรือ รักษาโรคความดันสูง ตามหลักทางการแพทย์ได้”

อาหารเสริม ลดความดัน ที่ขึ้นทะเบียนเป็นอาหารเสริม ไม่สามารถป้องกัน หรือ รักษาความดันสูง ตามหลักทางการแพทย์ได้

ถาม : แล้วทำไมหลายคนบอกว่า ทานอาหารเสริม ลดความดัน แล้วค่าความดันดีขึ้น?

ตอบ : นั่นเป็นเพราะว่า เซลล์บางอย่างในร่างกายถูกกดเอาไว้ พอทานอาหารเสริม ลดความดัน ไปได้สักระยะหนึ่ง หากหยุดทาน หมดฤทธิ์อาหารเสริม ก็มีโอกาสที่ความดันสูงขึ้นมาอีกได้ และค่าความดันอาจสูงมากกว่าเดิมด้วย เนื่องจากเซลล์ในร่างกายถูกกดเอาไว้นาน ดังนั้นหากคิดทานอาหารเสริม ลดความดัน จึงจำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่องไปตลอด แสดงให้เห็นว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น ที่สำคัญอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาภายหลังได้ด้วย

ถาม : โรคแทรกซ้อนอะไรบ้าง ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อทานอาหารเสริม ลดความดัน

ตอบ : ง่ายที่สุดก็คือ โรคไขมันในเส้นเลือด ไขมันพอกตับ โรคอ้วน เพราะอาหารเสริม ลดความดันหลายๆ ตัว อยู่ในรูปแบบน้ำมัน เช่น น้ำมันปลา เลซิติน แม้ว่าจะผ่านการวิจัยว่ามีประโยชน์ ต่อการรักษาความดันสูง แต่เนื่องจากโมเลกุลเป็นน้ำมัน หากทานติดต่อกันนาน อาจเกิดการสะสม เป็นไขมันในร่างกายได้ ดังนั้นหากคิดจะต้องก็ต้องศึกษาให้ดี และ ระมัดระวังให้มากที่สุด

นอกจากนี้ อาหารเสริม ลดความดัน ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว เนื่องจากหากทานเข้าไป อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคต ดังนั้นหากจะคิดทานอาหารเสริม ลดความดัน เพื่อการรักษาความดันด้วยตัวเอง ก็ต้องพิจารณาแต่ละผลิตภัณฑ์ให้ถี่ถ้วน ก่อนเลือกรับประทาน

รักษาความดันสูง ด้วยสมุนไพรลดความดันสูง

6 สมุนไพรลดความดันสูง
1. กระเทียม 
2. ขิง 
3. ตะไคร้ 
4. กระจี๊ยบแดง 
5. อบเชย 
6. ดอกคำฝอย

การรักษาความดันสูง ด้วยสมุนไพรลดความดันสูง เป็นวิธีการรักษาความดันสูงโดยไม่ใช้ยา ที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่อดีต เพราะประเทศไทย อุดมสมบูรณ์ด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่มีสรรพคุณเป็นยา สามารถรักษาความดันสูงได้ สามารถนำไปต้มทาน นำมาประกอบอาหาร ก็ได้เช่นกัน โดยสมุนไพรลดความดันสูง ที่นิยมทานกัน เช่น

1. กระเทียม มีสารอัลลิซิน (Allicin) ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ระดับความดันจึงค่อย ๆ ลดลง ช่วยลดความหนืดของเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ช่วยสลายไขมันอุดตันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือด ลดคอเลสเตอรอล ที่ส่งผลต่อระดับความดัน ทั้งนี้ไม่ควรทานกระเทียมสดตอนท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อน อาจทำให้แสบท้อง แสบกระเพาะได้

2. ขิง มีสรรพคุณที่ช่วยลดความดันสูง เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ขับลม แก้ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ และทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ยิ่งได้ดื่มน้ำขิงอุ่นๆ สักแก้วล่ะก็ จะช่วยลดความดันสูงได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ผู้ที่กำลังทานยาลดอาการแข็งตัวของหลอดเลือดทานขิง 

3. ตะไคร้ อีกหนึ่งพืชสมุนไพร ที่สามารถหาทานได้ง่าย ซึ่งตะไคร้มีส่วนช่วยลดความดันสูง มีฤทธิ์ขับลม ขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา ซึ่งมีผลช่วยลดความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี

4. กระจี๊ยบแดง มีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การสร้างความแข็งแรงให้กับหลอดเลือด ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตปกติได้

5. อบเชย มีสรรพคุณทางยา ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เบาหวาน ไขมันในร่างกาย ที่มีผลต่อระดับความดันโลหิต นอกจากนี้ยังแก้วิงเวียน ร่างกายอ่อนเพลียจากภาวะความดันสูงได้ด้วย 

6. ดอกคำฝอย มีสารพอลีฟีนอล (Polyphenols) สารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่ออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือดแดง ช่วยลดไขมันเลวในร่างกาย ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตดีขึ้นตาม อีกทั้งช่วยขับน้ำเหลืองเสีย บำรุงน้ำเหลือง สลายลิ่มเลือด ฯลฯ

ทั้งนี้การทานสมุนไพรลดความดันสูง จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ เพราะผู้ป่วยความดันสูงบางคน อาจจะเกิดอาการแพ้ หรือ หากนำสมุนไพรมาทาน ในสัดส่วนที่ไม่พอดี ก็ไม่เห็นผลในแง่รักษาความดันสูง หรือ อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย แทนที่จะได้ประโยชน์ในแง่ของการรักษานั่นเอง

ยาสมุนไพรแก้ความดันสูง ทางเลือกที่ปลอดภัย รักษาได้จริง

การรักษาความดันสูง ด้วยยาสมุนไพรแก้ความดันสูง เป็นการรักษาตามหลักธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตามหลักแพทย์แผนไทย ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ค่าความดันสูง ดีขึ้นตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฝืนธรรมชาติ ซึ่งดีกว่าการนำสมุนไพรลดความดันสูง มาต้มทานเอง เพราะยาสมุนไพรแก้ความดันสูงถูกสกัด และ ผ่านกรรมวิธีการผลิต มาในสัดส่วนที่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อย่างเหมาะสม

ยาสมุนไพรแก้ความดันสูง เป็นการรักษาตามหลักธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตามหลักแพทย์แผนไทย ทำให้ค่าความดันสูงดีขึ้นตามลำดับ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ฝืนธรรมชาติ

จุดเด่นของยาสมุนไพรแก้ความดันสูง ที่แตกต่างจากอาหารเสริม ลดความดัน คือ สามารถออกฤทธิ์ ยับยั้งความดันสูงได้ครอบคลุมกว่า ไม่เสี่ยงต่อสารเคมีตกค้างในร่างกาย โดยเฉพาะยาสมุนไพรแก้ความดันสูง “ตรีผลา FORTE” จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “ยา” การันตีถึงประสิทธิภาพในการรักษาความดันสูงได้จริง จึงได้รับความนิยมในแวดวงยาสมุนไพรแพทย์แผนไทย จนมีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อกันมากที่สุด ยาวนานถึง 30 ปี สกัดจากสมุนไพรลดความดันสูง มากถึง 22 ชนิด เช่น

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 ได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล
  • สารสกัดดอกคำฝอย
  • สารสกัดดีปลี
  • สารสกัดขิงแห้ง
  • สารสกัดเจตมูลเพลิง
  • สารสกัดลูกจันทร์
  • สารสกัดดอกจันทร์
  • สารสกัดกระวาน
  • สารสกัดกานพลู
  • สารสกัดทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง ฯลฯ
ยาสมุนไพรแก้ความดันสูง ตรีผลา FORTE
รักษาความดันสูง ฟื้นฟูลึกถึงเซลล์ภายใน ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
ลดคอเลสเตอรอล 
ลดระดับน้ำตาลในเลือด 
ลดไตรกลีเซอไรด์ 
ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันในเลือด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด

ซึ่งผ่านเทคนิคสกัดยาเฉพาะ เพื่อให้ได้สารสำคัญในตัวยา ออกฤทธิ์ดี ครบถ้วน เป็นสูตรตำรับเฉพาะ ลิขสิทธิ์เฉพาะของศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ ผ่านการวิจัยทางการแพทย์ ได้รับการรับรอง และ ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ จาก อย. มาเรียบร้อยแล้วว่า มีประสิทธิภาพในการรักษาความดันสูงได้ โดยช่วยปรับสมดุลความดันสูง แบบลงลึกถึงภายใน ให้ค่าความดันโลหิต ค่อยๆ ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต่ำเกินเกณฑ์มาตรฐาน และไม่ต้องเสี่ยงต่อสารเคมีตกค้างในร่างกายด้วย สามารถทานระยะยาวได้ เป็นการฟื้นฟูลึกถึงต้นเหตุของความดันสูงอย่างลงลึก ละเอียดอ่อน ดีระยะยาว นอกจากนี้ ตรีผลา FORTE ยังดูแลสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น

  • ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ซึ่งมีผลต่อการรักษาความดันสูง
  • แก้ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว วิงเวียนศีรษะ อันเนื่องมาจากอาการความดันสูง  
  • ช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันในเลือด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด
  • ช่วยล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ ล้างพิษตับ ล้างน้ำเหลืองเสีย ขับไขมันสะสม ของเสีย พิษต่างๆ ขับออกพร้อมน้ำดี ผ่านออกมากับอุจจาระ และ ปัสสาวะ
  • ลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จากความดันสูง ไม่ว่าจะเป็น ความดันลงไต ไตวาย ความดันสูงขึ้นตา
  • ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย เพราะน้ำหนักมีผลต่อค่าความดัน แต่หากผอมอยู่แล้ว จะไม่ได้ผอมไปมากกว่าเดิม เพราะเป็นการลดน้ำหนัก ตามสมดุลธรรมชาติ
  • ช่วยปรับสมดุลขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ช่วยบำรุงปลายประสาท แขน ขา แก้อาการชาปลายมือ และ เท้า
  • ลดอาการบวมน้ำ
  • ช่วยทำให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
  • สามารถทานคู่กับยารักษาความดันสูง แผนปัจจุบันได้ ส่งผลให้ลดปริมาณยารักษาความดัน แผนปัจจุบันลงเรื่อยๆ จนดีได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งยาไปตลอดชีวิต
  • ช่วยแก้ผลข้างเคียง ของการทานยารักษาความดันสูง แผนปัจจุบัน ทำให้ค่าตับ ไตดีขึ้น ไม่เสื่อมเร็ว

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ
Scroll to Top