อย่ามองข้าม! ปวดประจำเดือน อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก

อย่ามองข้าม! ปวดประจำเดือน อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก

แชร์ได้เลยค่ะ

เชื่อว่าผู้หญิงทุกคน ต้องเคยปวดประจำเดือน และมันคือสิ่งที่น่าหงุดหงิด รำคาญใจ แถมยังสร้างความรบกวน ในการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย แต่คุณสาว ๆ เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า อาการปวดประจำเดือน บางครั้งไม่เหมือนกัน บางทีอาจปวด 1 – 3 วันหาย บางคนปวดประจำเดือนจนเป็นไข้ และ นั่นคือสัญญาณบ่งบอก ถึงปัญหาสุขภาพภายในของสาว ๆ ที่หากละเลย ไม่ให้ความใส่ใจ ก็อาจส่งผลเสียในอนาคตได้ วันนี้เราจึงมีอาการปวดประจำเดือน รูปแบบต่าง ๆ และ ความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพภายในของสาว ๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้คุณสาว ๆ ได้ลองสังเกต อาการปวดประจำเดือน ของตัวเองกันดู เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพภายใน และ รักษาอาการปวดประจำเดือนได้อย่างตรงจุดมากที่สุด

ปวดประจำเดือนแต่ละคน มีอาการไม่เหมือนกัน ต้องสังเกตให้ดี! อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพภายใน

ปวดประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ปวดประจำเดือน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทปฐมภูมิ : ปวดหน่วงเล็กน้อย ถึง ปวดมาก หายเองได้ 1 - 3 วัน
ประเภททุติยภูมิ : ปวดรุนแรง เพราะมีความผิดปกติของมดลูก หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก อุ้งเชิงกรานอักเสบ เนื้องอกมดลูก

อาการปวดประจำเดือน เป็นอาการของกล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว เพื่อขับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก ที่ไม่ได้มีอสุจิผสมกับไข่ ออกมาเป็นเลือดประจำเดือน โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้นทุก ๆ 28 วัน ซึ่งอาการปวดประจำเดือน เกิดจากสารที่ชื่อว่า “โพรสตาแกลนดิน” (Prostaglandin) ที่เกิดขึ้นในเยื่อบุโพรงมดลูก ระหว่างมีประจำเดือน จึงทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวนั่นเอง ทั้งนี้อาการปวดประจำเดือน สามารถเกิดขึ้นได้ในสุภาพสตรีวัยเจริญพันธุ์ แต่ปวดประจำเดือน อาการจะมาก หรือ น้อย ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุขภาพแต่ละคน ทั้งนี้ สามารถแบ่งอาการปวดประจำเดือน ออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 

1. ปวดประจำเดือน ประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmennorrhea)  

คือ อาการปวดประจำเดือน เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก ตามที่กล่าวไปข้างต้น โดยอาการปวดประจำเดือน มีตั้งแต่ปวดหน่วงเล็กน้อย ไปถึงขั้น ปวดประจำเดือนมาก จากการที่กล้ามเนื้อมดลูก บีบตัวแรงเกินไป จนเลือด และ ออกซิเจน ไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในได้ ร่างกายผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) มากเกินไป จนทำให้เราปวดประจำเดือนมากนั่นเอง

ปวดประจำเดือน ประเภทปฐมภูมิ ถือเป็นการปวดประจำเดือนปกติ ไม่ร้ายแรง มักมีอาการปวดประมาณ 1 – 3 วัน เท่านั้น และ อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น  

  • ปวดประจำเดือน แบบบีบตุบ ๆ เป็นจังหวะ 
  • ปวดประจำเดือน อาการร้าวมาจากอุ้งเชิงกราน และ อาจลามไปถึงช่วงล่างของแผ่นหลัง และ ต้นขาด้านใน  
  • รู้สึกอ่อนเพลียง่าย
  • ท้องเสีย

2. ปวดประจำเดือน ประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)

คือ อาการปวดประจำเดือน เกิดจากความผิดปกติของมดลูก หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งเป็นอันตราย และ สามารถลุกลาม เป็นโรคเรื้อรังได้ในอนาคต เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก อุ้งเชิงกรานอักเสบ เนื้องอกมดลูก ทำให้เกิดการปวดประจำเดือนขึ้นมา ซึ่งการปวดประจำเดือน แบบทุติยภูมิ มีข้อสังเกต ให้ได้ลองเช็คตัวเองกันคร่าว ๆ ดังนี้   

  • เริ่มมีอาการปวดประจำเดือน ตั้งแต่อายุ 20 – 30 ปี และ ปวดต่อเนื่องมาตลอดทุกครั้ง
  • กินยาแก้ปวดประจำเดือนแล้ว แต่อาการไม่ทุเลาลง
  • มีตกขาวมากผิดปกติ  

เมื่อลองเช็คแล้วว่า อาการปวดประจำเดือนของคุณ มีลักษณะคล้ายกับที่เราบอกข้างต้น คุณควรหันมาให้ความใส่ใจในการดูแลสุขภาพ และ ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง

เช็คสักนิด ปวดประจำเดือน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

เช็คสักนิด ปวดประจำเดือน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?
ช็อกโกแลตซีสต์
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
พังผืดในอุ้งเชิงกราน
ภาวะปากมดลูกตีบ

จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า การปวดประจำเดือนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คราวนี้เรามาลองเช็คกันดูสิว่า การปวดประจำเดือน ที่คุณกำลังเผชิญอยู่ มีลักษณะแบบไหน และ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ หรือไม่

  • ปวดประจำเดือน อาการหนักขึ้นทุกเดือน และ ปวดท้องน้อย ลามไปถึงอุ้งเชิงกราน มีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ปวดมากเวลาขับถ่าย หากใช่ แสดงว่า คุณมีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็น “ช็อกโกแลตซีสต์” (Chocolate Cyst) โดยช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากเลือดประจำเดือน และ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ร่างกายขับออกมาไม่หมด เลยเหลือตกค้าง อยู่ในรังไข่ จนเลือด และ เยี่อบุโพรงมดลูกนั้นเกาะตัวกัน เป็นถุงน้ำ ยิ่งมีปริมาณถุงน้ำ มากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นเท่านั้น  
  • ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ ในทุก ๆ รอบเดือน จนต้องกินยาแก้ปวด ปวดอุ้งเชิงกราน จนเป็นตะคริว มีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน หรือ ประจำเดือนมาไม่ปกติ เจ็บช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องคล้ายอยากถ่ายอุจจาระ ขณะมีประจำเดือนทุกครั้ง หากมีอาการตามนี้ แสดงว่า เสี่ยงจะเป็น “โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” ซึ่งเกิดจาก ประจำเดือนไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้อง บริเวณอุ้งเชิงกราน ผ่านท่อนำไข่ และ ฝังตัวในโพรงมดลูกหรือ ฝังตามอวัยวะต่าง ๆ นั่นเอง
  • ปวดประจำเดือน อาการปวดแบบตื้อ ๆ ปวดบิด ปวดรัด เป็นพัก ๆ มีการปวดท้องน้อย เป็นระยะ ๆ หากคุณปวดประจำเดือนแบบนี้ แสดงว่า คุณมีความเสี่ยงจะเป็น “พังผืดในอุ้งเชิงกราน” โดยผังผืดที่เกิดขึ้นนั้น คือ กลไกตามธรรมชาติ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการอักเสบ หรือ การที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิด ซึ่งเกิดจากกลไกการกำจัดเลือดประจำเดือนในร่างกาย หากเราปล่อยให้ผังผืดเกาะนานเกินไป นอกจากการปวดประจำเดือน อาการจะรุนแรงขึ้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการ มีบุตรยากอีกด้วย 
  • ปวดประจำเดือนมาก แต่ประจำเดือนมาน้อย หรือ ไม่มีประจำเดือนไหลออกมาเลย แสดงว่ามีความเสี่ยง ต่อการเกิด “ภาวะปากมดลูกตีบ” เนื่องจากมีเลือดคั่งอยู่ในโพรงมดลูก จนทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น จึงรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีไข้ หนาวสั่น ร่วมด้วย เพราะโพรงมดลูกอักเสบ

นอกจากอาการปวดประจำเดือน ลักษณะต่าง ๆ ที่เรายกตัวอย่างไปแล้วนั้น ยังมีอาการปวดประจำเดือน อีกหลายรูปแบบ ที่ต้องหัดสังเกตให้ดี เช่น

  • จู่ ๆ ก็รู้สึกปวดประจำเดือนแบบรุนแรงมาก และ ไม่เคยปวดประจำเดือนแบบนี้มาก่อน
  • มีไข้ต่ำ ๆ ร่วมกับอาการปวดประจำเดือน ตลอดระยะเวลา 
  • ไม่สามารถลุกเดิน หรือ ใช้ชีวิตประจำวันได้
  • รับประทานยาแก้ปวดประจำเดือนแล้วไม่ดีขึ้น

หากมีอาการเช่นนี้แล้ว แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจภายในอย่างละเอียด

เทคนิคง่าย ๆ ลดปวดประจำเดือน

เทคนิคง่าย ๆ ลดปวดประจำเดือน
1. ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มคาเฟอีน 
2. ดื่มน้ำเปล่าให้มาก 
3. ออกกำลังกายเบา ๆ 
4. ทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วลันเตา ผักโขม ข้าวโพดหวาน กล้วย เนื้อปลา 
5. ใช้กระเป๋าน้ำร้อน ประคบท้องน้อย 
6. อาบน้ำอุ่น
7. พักผ่อนให้เพียงพอ
8. ทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) 
9. ทานยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน
10. ใส่เสื้อผ้าเบาสบาย ไม่รัดท้องจนเกินไป

1. ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มคาเฟอีน ในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มคาเฟอีน จะเป็นตัวกระตุ้น ทำให้รู้สึกอยากปัสสาวะบ่อยครั้ง ทำให้ มดลูกบีบตัวหนักมากขึ้น ส่งผลให้อาการปวดเกร็งในช่องท้องน้อย ทวีความรุนแรง 

2. ดื่มน้ำเปล่าให้มาก เพราะมีช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ลดอาการหดเกร็งในช่องท้อง ส่งผลให้ปวดประจำเดือนน้อยลงได้ แนะนำให้จิบน้ำอุ่น ๆ ระหว่างวันบ่อย ๆ ยิ่งดี

3. ออกกำลังกายเบา ๆ จะช่วยลดปวดประจำเดือนได้ เพราะขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ออกมา ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนที่กำลังแปรปรวนให้ดีขึ้น ส่งผลให้อาการปวดประจำเดือนลดลง โดยการออกกำลังกายในช่วงเป็นประจำเดือน ที่เราแนะนำ คือ การเดินเร็ว การเต้นแอโรบิก โยคะ 

4. ทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วลันเตา ผักโขม ข้าวโพดหวาน กล้วย เนื้อปลา จะช่วยลดอาการหดเกร็ง ของกล้ามเนื้อ ทำให้ลดปวดประจำเดือนได้

5. ใช้กระเป๋าน้ำร้อน ประคบท้องน้อย 

6. อาบน้ำอุ่น

7. พักผ่อนให้เพียงพอ

8. ทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) แต่ควรทานเฉพาะตอน มีอาการปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเท่านั้น

9. ทานยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน

10. ใส่เสื้อผ้าเบาสบาย ไม่รัดท้องจนเกินไป

ยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน ปรับสมดุลภายใน ลดปวดประจำเดือนได้ระยะยาว

ยืน 1 ฟื้นฟู ปรับสมดุลภายใน บอกต่อสูตรลับ ไม่กลับมาปวดประจำเดือนง่าย ๆ ด้วยยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน Repure หมออรรถวุฒิ

อย่างที่เราบอกไปว่า หากมีอาการปวดประจำเดือน การทานยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) สามารถช่วยลดปวดประจำเดือนได้ แต่ควรทานเฉพาะตอนมีอาการปวดประจำเดือน อย่างรุนแรงเท่านั้น แม้ว่าการทานยาชนิดนี้ จะช่วยลดปวดประจำเดือนได้เร็ว แต่ห้ามกินต่อเนื่องเกิน 7 วัน และหากกินบ่อย กินทุกเดือน จะส่งผลเสียต่อระบบภายในระยะยาวได้ เช่น เสี่ยงต่อการเป็นโรคไต เกล็ดเลือดแตก ภาวะโลหิตจาง ฯลฯ อีกทั้งเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ ไม่ได้เป็นผลดีกับมดลูกอีกด้วย

ดังนั้น หากคุณต้องการรักษาอาการปวดประจำเดือน อย่างไม่ทำลายสุขภาพ การเลือกทานยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน นับเป็นทางเลือกที่ดี และได้รับความนิยมไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะยาสมุนไพร สามารถช่วยปรับสมดุลภายในได้ลึกถึงระบบภายในผู้หญิงอย่างตรงจุด ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลัก ของการรักษาอาการปวดประจำเดือน และ การมีสุขภาพภายในที่ดี นอกจากรักษาอาการปวดประจำเดือนแล้ว สาว ๆ ที่ไม่ได้มีปัญหา ก็สามารถทาน เพื่อบำรุงระบบภายในได้เช่นกัน 

ซึ่งเราขอแนะนำ ยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน ที่มีชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน นั่นก็คือ “รีเพียว (Repure)” ของศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ ที่มีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อมากที่สุด ยาวนานมากว่า 30 ปี มีความน่าเชื่อถือ โรงงานผลิตได้มาตรฐาน มีผลการวิจัยรองรับประสิทธิภาพของยาสมุนไพร ได้รับการรับรองจาก อย. มาเรียบร้อยแล้ว

ยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน รีเพียว (Repure) เป็นยาชนิดรับประทาน สูตรตำรับเฉพาะ ลิขสิทธิ์หมออรรถวุฒิ ปราศจากสารเคมี สเตียรอยด์ และ เอสโตรเจน ที่สามารถช่วยลดปวดประจำเดือนได้ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาตกขาวมีกลิ่น ช่วยปรับสมดุลภายใน ดูแลระบบภายในของผู้หญิงหลายด้าน อัดแน่นไปด้วยสารสกัดสมุนไพร หลากหลายชนิด เช่น 

  • ไพลสกัด มีคุณสมบัติ ช่วยลดปวดประจำเดือน แก้มดลูกอักเสบ แก้มดลูกบวม เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ 
  • ว่านสากเหล็กสกัด มีส่วนช่วยคลายอาการเกร็ง ของกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้การปวดประจำเดือน อาการทุเลาลง 
  • ดอกคำฝอยสกัด มีคุณสมบัติบำรุงโลหิต ทำให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก เลือดประจำเดือนไม่จับตัวกันเป็นลิ่ม จนเกิดอาการปวดประจำเดือน 
  • ข่าหดสกัด สุดยอดสมุนไพรหายาก ที่ช่วยรักษามดลูกหย่อน แก้มดลูกบวม ซึ่งปลูกโดยเกษตกรพื้นที่ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา แก่ศูนย์หมออรรถวุฒิเท่านั้น ทำให้ได้วัตถุดิบที่ใหม่สด สารสำคัญครบถ้วน 
  • ขมิ้นอ้อยสกัด ช่วยเรื่องลดปวดประจำเดือน ป้องกันการเกิดซีสต์ และ ผังผืด

นอกจากนี้ ยาสมุนไพร แก้ปวดประจำเดือน รีเพียว (Repure) ยังมีสารสกัดสมุนไพรอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นตัวสำคัญในการบำรุง รักษาระบบภายในของสาว ๆ ป้องกันอาการปวดประจำเดือน ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำง่าย ๆ อีก ที่สำคัญ คือ ยังปราศจากเอสโตรเจน ทำให้ไม่เกิดอาการอ้วน บวมน้ำแต่อย่างใด สาว ๆ ที่เป็นซีสต์ เนื้องอก พังผืด สามารถทานได้ โดยไม่เป็นอันตราย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา ทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top