หลายคนคงนึกไม่ถึงว่า ตัวเองจะเป็นโรคมะเร็งตับได้อย่างไร หากไม่ได้เป็นคนสูบบุหรี่จัด หรือ ดื่มแอลกอฮอล์เลย ต้องเกริ่นก่อนว่า โรคมะเร็งตับเกิดได้หลายสาเหตุ ซึ่งสาเหตุหนึ่ง ที่สามารถทำให้มะเร็งตับ เติบโตขึ้นมาได้ ก็คือ การเป็นโรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือ ไขมันเกาะตับ นั่นเอง แล้ว ไขมันพอกตับเกิดจากอะไร? ใครเป็นได้บ้าง? ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็เป็นได้จริงหรือ? วันนี้เรามีคำตอบ มาบอกทุกคนกัน
ไขมันพอกตับเกิดจากอะไร?
โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือ โรคไขมันเกาะตับคือ ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ภายในตับ เกิน 5 – 10% ซึ่ง ไขมันเกาะตับเกิดจาก พฤติกรรมการกินแบบผิดๆ ที่สั่งสมเป็นระยะเวลายาวนาน เกิดได้ทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ และ ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวมาแบบเงียบๆ และทำลายตับอยู่ภายใน เป็นเวลาหลายสิบปี ซึ่งหลายๆ คนไม่รู้ตัว พอตรวจเจอเข้า ก็กลายเป็นโรคตับแข็ง และ โรคมะเร็งตับเสียแล้ว
เล่ามาขนาดนี้ หลายคนคงอยากทราบแล้วว่า พฤติกรรมการกินแบบไหน ที่นำไปสู่โรคไขมันพอกตับได้บ้าง เรามาไขคำตอบไปพร้อมๆ กัน
1. ไขมันพอกตับเกิดจาก การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ สปาร์คกลิ้งไวน์ ในปริมาณมาก เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี แม้จะเป็นเครื่องดื่มที่มีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์น้อย ก็ก่อให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้เช่นกัน
2. แน่นอนว่า ไขมันพอกตับเกิดจาก การกินไขมันเยอะเกินไป ดังนั้นอาหารที่นำไปทอดทุกประเภท ขาหมู ข้าวมันไก่ พิซซ่า และ อาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ย่อมก่อให้เกิดโรคไขมันพอกตับได้อย่างแน่นอน
3. รับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสหวานและรสเค็ม แน่นอนว่าอาหารที่มีรสหวาน ย่อมมีปริมาณน้ำตาลสูง ส่วนรสเค็มจะเพิ่มดีกรีความหิว ยิ่งอร่อยก็ยิ่งทานเยอะขึ้น น้ำหนักตัวก็พุ่งสูงขึ้น ประมาณไขมันสะสมก็สูงตามนั่นเอง
4. รับประทานอาหารที่มีแป้ง หรือ คาร์โบไฮเดรตปริมาณมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันพอกตับได้เช่นกัน เพราะเวลาเราทานแป้งเข้าไป แป้งจะถูกย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคส หากร่างกายนำพลังงานไปใช้ไม่หมด ก็จะถูกสะสมอยู่ภายในตับ อันเป็นสาเหตุของโรคไขมันพอกตับนั่นเอง
5. ไขมันพอกตับเกิดจาก การรับประทานขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอดกรอบ ที่มีทั้งน้ำมัน และ ความเค็ม ลูกอม เยลลี่ที่มีรสหวาน มีปริมาณน้ำตาลฟรุคโตสสูง
6. ดื่มน้ำที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง น้ำหวาน ชาเขียว ชานม น้ำเฉาก๊วย ฯลฯ
7. การรับประทานยาลดน้ำหนัก ก็มีส่วนทำให้เป็นโรคไขมันพอกตับได้เช่นกัน เพราะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ตับถูกสารเคมีจากตัวยาลดน้ำหนักทำลาย
นอกจากนี้ ไขมันเกาะตับเกิดจากการเป็นโรคต่างๆ ได้ด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากพันธุกรรม เป็นต้น
อาการไขมันพอกตับเป็นอย่างไร?
ต้องบอกเลยว่า โรคนี้มาแบบเงียบๆ จนแทบบอกไม่ได้เลยว่า เรากำลังเป็นไขมันพอกตับอยู่ เพราะอาการเบื้องต้นที่แสดงออกมา จะเป็นแค่อ่อนเพลียบ่อย ปวดท้องบ้าง ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มบ้าง ผู้หญิงก็อาจมีตกขาวเป็นสีเหลือง มีอาการท้องอืด ไขมันเกาะตับจึงกลายเป็นโรคที่บอกได้ยากมาก ว่าเรากำลังเผชิญกับโรคนี้อยู่ เพราะใช้เวลาหลายสิบปีในการดำเนินโรค ทั้งนี้อาการจะแสดงออกมาเป็น 4 ระยะ
- ระยะที่หนึ่ง : ระยะที่มีภาวะไขมัน สะสมในตับ เกิน 5 – 10% แล้ว
- ระยะที่สอง : ระยะของการเป็นตับอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษา จะนำไปสู่ตับอักเสบเรื้อรัง
- ระยะที่สาม : ระยะของการเป็นตับอักเสบเรื้อรัง มีพังพืดเกิดขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นตับแข็ง ควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
- ระยะที่สี่ : ระยะของการเป็นตับแข็ง มีแผลภายในตัวจำนวนมาก หากไม่ได้รับการรักษาก็จะเกิดโรคมะเร็งตับได้
5 วิธีป้องกันโรคไขมันพอกตับ
1. ตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราทราบได้ ว่าเป็นโรคไขมันเกาะตับหรือไม่ หากเป็นแล้ว ไขมันพอกตับเกิดจาก อะไร อยู่ในระยะไหน เนื่องจากไขมันพอกตับ จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ตรวจเท่านั้นถึงจะพบ ไม่ว่าจะเป็น การตรวจความผิดปกติของตับ ด้วยการอัลตราซาวนด์ การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำ MRI การตรวจระดับคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจดูค่าเอนไซม์ของตับ ตรวจไวรัสตับอักเสบ ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด เป็นต้น
2. ปรับพฤติกรรมการกินของตนเอง ไม่กินตามใจปาก เช่น ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานอาหารรสจัด ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต ที่เข้าสู่ร่างกาย ไม่รับประทานขนมขบเคี้ยว หรือ ขนมหวาน เป็นต้น
3. หากเป็นโรคอ้วน ก็ไม่ควรรับประทานยาลดความอ้วน เพราะยาลดความอ้วน มีผลต่อตับโดยตรง ซึ่งตับเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่นำสารอาหาร มาปรับใช้ตามส่วนต่างๆ กำจัดสารพิษ สร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหารในลำไส้ เป็นต้น หากผู้ที่เป็นโรคอ้วน อยากลดความอ้วน ก็ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือนักโภชนาการ ในการช่วยลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวกล้อง ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ปลาแซลมอน เต้าหู้ หรือ หากทราบแล้วว่า ตนเองเป็นโรคไขมันเกาะตับ ก็รับประทานอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับโดยเฉพาะ
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกายแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพดีอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น วิ่งลดไขมันพอกตับ เต้นแอโรบิค ว่ายน้ำ เล่นโยคะ ล้วนทำให้ร่างกายแข็งแรงทั้งสิ้น
มียารักษาโรคไขมันพอกตับไหม?
ปัจจุบันยังคง “ไม่มียาแพทย์แผนปัจจุบัน” ที่ออกฤทธิ์ เพื่อรักษาโรคไขมันพอกตับ ได้โดยเฉพาะ ซึ่งแพทย์จะให้ยาในกลุ่มที่ช่วยรักษาโรคใกล้เคียงกัน เช่น วิตามินอี ที่มีส่วนช่วยลดการอักเสบของตับ หากใครเป็นโรคไขมันในเลือดสูง แพทย์ก็อาจจะให้ อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin) ซึ่งเป็นยาที่มีส่วนช่วย ลดระดับคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ได้ ซึ่งช่วยทำให้อาการไขมันพอกตับดีขึ้น
แต่หากเป็น ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ตามท้องตลาด ก็พอมีให้เลือกซื้อมารับประทานอยู่บ้าง แต่การจะเลือกซื้อ ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับทั้งที เราก็ควรเลือกจากผู้ผลิต ที่น่าเชื่อถืออย่าง “ตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% ถึง 22 ชนิด เช่น
– สมอไทย
– สมอภิเภก
– สมอเทศ
– สมอดีงู
– สมอทะเล
– ดอกคำฝอย
– ดีปลี
– ขิงแห้ง
– เจตมูลเพลิง
– กระวานเทศ
– ชุมเห็ดไทย
– แก่นขี้เหล็ก
– แสมสาร ฯลฯ
อีกทั้งยังได้รับ การการันตีคุณภาพ และ มาตรฐานจาก อย. เป็นที่เรียบร้อย โดยยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ตรีผลา FORTE นี้ จะช่วยล้างไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทั้งไตรกลีเซอไรด์ คอเลสตอรอล ล้างพิษในตับ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพตับดีขึ้น ในหลายๆ ด้านอีกด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก็สามารถทานได้ ปลอดภัยอย่างแน่นอน
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา ทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด? เป็นแล้วตับแข็งได้จริงหรือ?
Pingback: ไขมันพอกตับอันตรายไหม? ทำไมคนไทยถึงเป็นจำนวนมาก
Pingback: เลือกกินอย่างไรให้ตับแข็งแรง รวมเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ