ไขมันพอกตับอันตรายไหม? หลายคนคงข้องใจกับคำถามเหล่านี้อยู่ ก่อนอื่นเรามารู้จักเกี่ยวกับโรคนี้กันก่อนดีกว่าว่ามันคืออะไร
ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือ การมีไขมันสะสมอยู่ในตับเกินค่ามาตรฐาน หรือเกิน 5 – 10% ของน้ำหนักตับนั่นเอง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้อยู่ และอาการไขมันพอกตับก็ไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนด้วย หากอยากรู้ว่าป่วยหรือไม่ต้องตรวจสุขภาพหรือตรวจเลือดเท่านั้น
ไขมันพอกตับอันตรายไหม อาการไขมันพอกตับเป็นอย่างไร?
หากถามว่าไขมันพอกตับอันตรายไหม? ขอตอบตรงนี้เลยว่า “ไม่อันตรายหากตรวจเจอในระยะแรกเริ่ม” เพราะไขมันพอกตับแบ่งระยะของโรคออกเป็น 4 ระยะ หากไม่รีบตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือดหาให้เจอ และไม่รีบทำการรักษา ระยะสุดท้ายของไขมันพอกตับจะถูกพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับนั่นเอง โดยอาการไขมันพอกตับจะแสดงออกมา และถูกพัฒนาตาม 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เป็นระยะไม่อันตราย สามารถรักษาได้ง่ายที่สุด ซึ่งน้อยคนจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไขมันพอกตับระยะนี้ เพราะอาการไขมันพอกตับในระยะนี้ จะแสดงออกมาแค่ความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร ปัสสาวะเหลือง ปวดเมื่อยตามตัว เป็นต้น ซึ่งดูๆ แล้วก็ไม่ได้เหมือนคนป่วยใช่ไหมล่ะ? แต่จริงๆ แล้วระยะนี้คือการมีไขมันสะสมอยู่ภายในตับเกิน 5 – 10% แล้ว
- ระยะที่ 2 เริ่มเข้าสู่การเป็นโรคตับอักเสบแล้ว ถือว่าเป็นระยะอันตราย แต่ยังไม่อันตรายมาก หากไปโรงพยาบาลแล้วทำการตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือดเจอ แล้วทำการรักษาภายใน 6 เดือนก็จะดีขึ้น แต่หากไม่รักษาก็จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตลอดเวลา มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือเป็นดีซ่าน น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
หากปล่อยให้อาการเข้าสู่ระยะที่ 3 และ 4 ถือว่าอันตรายมาก!
- ระยะที่ 3 เข้าสู่ระยะอันตราย เพราะกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เกิดพังพืดที่ตับ เซลล์เนื้อเยื่อของตับถูกทำลาย นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนคนเป็นโรคตับอักเสบทุกอย่าง แต่จะมีอุจจาระปนเลือด อาเจียนเป็นเลือด ข้อมือ ข้อเท้าบวม เนื่องจากตับไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถกำจัดสารพิษในร่างกายได้นั่นเอง
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่อันตรายที่สุด เพราะถูกพัฒนามาเป็นโรคตับแข็ง ไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถประคับประคองอาการไม่ให้ร้ายแรงจนกลายเป็นโรคมะเร็งตับได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและรวดเร็วมาตั้งแต่ต้น ก็อาจลามไปถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งตับได้นั่นเอง
ทำไมคนไทยถึงเป็นโรคไขมันพอกตับจำนวนมาก
ปัจจุบันโรคไขมันพอกตับ เป็นโรคตับเรื้อรังที่พบบ่อยสุดในประเทศไทย มิใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้น แต่เด็กที่มีน้ำหนักปกติก็พบว่าเป็นไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 2.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 5 ในเด็กอ้วนร้อยละ 38 และในเด็กอ้วนที่เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 48 นอกจากนี้ผู้ที่โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงยังเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับได้ร้อยละ 90 อีกด้วย (ที่มา : https://www.thaihealth.or.th) โดยสาเหตุของโรคไขมันพอกตับหลักๆ มีอยู่ 2 สาเหตุ ได้แก่
1. โรคไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) โดยผู้ที่สุ่มเสี่ยงในกลุ่มนี้คือ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากติดต่อกันหลายปี นอกจากจะเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคตับแข็งได้มากขึ้นอีกด้วย
2. โรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) แต่เกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารและโรคอื่นๆ เช่น
– รับประทานอาหารที่มีรสจัด และมีปริมาณไขมันมากเกินไป ซึ่งอาหารไทยมีรสจัดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรสหวานจัด รสเค็มจัด ต่างก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคไขมันพอกตับได้
– ดื่มน้ำอัดลม หรือ น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงเป็นประจำ
– รับประทานของทอด
– รับประทานขนมหวานที่มีน้ำตาลฟรุคโตสสูง
– รับประทานยาลดน้ำหนัก
– เป็นผู้ที่ป่วยโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นไขมันพอกตับได้นั่นเอง
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นไขมันพอกตับ
โรคไขมันพอกตับจำเป็นต้องใช้แพทย์ตรวจเท่านั้น หากเราไม่อยากเป็นกังวลกับคำถามว่าโรคไขมันพอกตับอันตรายไหม? ก็แค่ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้แพทย์จะทำการตรวจด้วยวิธีต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น
1. ตรวจระดับไขมันในเลือดเพื่อดูค่าคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
2. ตรวจเลือดเพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
3. ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
4. ตรวจไวรัสตับอักเสบทุกชนิด
5. ตรวจความผิดปกติของตับด้วยการอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอ็กซเรย์ด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI)
6. เจาะเนื้อเยื่อเพื่อตรวจ
มียารักษาไขมันพอกตับไหม
หลังจากที่ตอบคำถามไปแล้วว่า ไขมันพอกตับอันตรายไหม ทีนี้ก็มาถึงเรื่องยารักษาไขมันพอกตับกันบ้าง แม้ว่าเราจะต้องใช้เทคนิคทางการแพทย์ในการตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือดให้พบโรคนี้ แต่ก็ต้องบอกตรงๆ ว่า ปัจจุบันไม่มียารักษาไขมันพอกตับของแพทย์แผนปัจจุบันที่รักษาโรคนี้ได้โดยตรง ซึ่งแพทย์จะทำการจะทำการจ่ายยาในกลุ่มสแตติน (Statins) และยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินให้แทน ซึ่งยากลุ่มนี้เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและภาวะของโรคไขมันพอกตับในแต่ละคน
ทั้งนี้การรับประทานยารักษาไขมันพอกตับของแพทย์แผนปัจจุบัน ก็มีความเสี่ยงสูงต่อการแพ้ยาและสารเคมีตกค้างในร่างกาย แต่หากใครไม่อยากเสี่ยงกับสารเคมี ก็มีวิธีทานยารักษาไขมันพอกตับให้ได้ผลและปลอดภัย 100% นั่นก็คือ การรับประทานยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับนั่นเอง โดยยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับที่เห็นผลชัดที่สุดในปัจจุบันนี้คือ “ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ”
ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ เป็นยาสมุนไพรสกัดธรรมชาติ 100% และได้รับการรับรองจากอย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยอย่างแน่นอน อีกทั้งได้รับการการันตีจากผู้บริโภคจริงมากกว่า 98% ว่าพึงพอใจ เพราะหลังจากรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับตรีผลา FORTE แล้วไปตรวจกับแพทย์ซ้ำอีกที อาการต่างๆ ดีขึ้น ไขมันในตับลดลง ไขมันในเลือดลดลง ค่าความดันเป็นปกติ คอเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์ลดลง อย่างเห็นได้ชัดด้วย และที่หลายคนถูกอกถูกใจก็เพราะว่า นอกจากมีฤทธิ์ในการรักษาแล้ว ยังช่วยบำรุงระบบภายในให้ลำไส้สะอาด ลดอาการบวมน้ำ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ต้านอนุมูลอิสระ และชะลอความแก่ได้ดีอีกด้วย
หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกรและผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: อาการไขมันพอกตับ สู่โรคมะเร็งตับ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นได้
Pingback: ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี
Pingback: ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?
Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด? เป็นแล้วตับแข็งได้จริงหรือ?