เราเชื่อว่าหลายคนคงเพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) ด้วยซ้ำ ทั้งที่จริงมันไม่ใช่โรคใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเลย และต้องบอกเลยว่า ไขมันพอกตับ เป็นโรคที่มีอัตราการผู้ป่วยสูงขึ้นทุกปี หนำซ้ำหลายคนมักไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำ ว่าเป็นโรคไขมันพอกตับอยู่ เนื่องจากโรคนี้เป็นภัยเงียบ ที่ซ่อนอยู่ในร่างกาย และใช้เวลานานหลายสิบปี กว่าจะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน แล้วไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใดล่ะ? เราขออธิบายให้ทุกท่านเข้าใจอย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้
ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด?
ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุที่ร่างกาย ได้รับปริมาณไขมัน เกินความต้องการ เมื่อร่างกายดึงไขมันไปใช้ หรือ เผาผลาญไขมันไม่หมด ก็จะเกิดการสะสม ของไขมัน โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เมื่อไขมันสะสมเกิน 5 – 10% ของตับ ก็จะเกิดเป็นโรคไขมันพอกตับนั่นเอง ทั้งนี้ ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุ หลายสาเหตุ แต่หากอธิบายให้เข้าใจโดยง่าย ตามหลักสากลแล้ว แบ่งออกเป็น 2 สาเหตุด้วยกัน คือ
1. ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุ ของการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) หรือ AFLD เกิดกับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
2. ไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจาก การดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) หรือ NAFLD เกิดได้หลายปัจจัย ดังนี้
- รับประทานของมัน ของทอด อาหารฟาสฟู้ด หรือ อาหารที่มีไขมันสูง
- รับประทานแป้ง หรือ อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
- รับประทานอาหารที่มีรสเค็ม เนื่องจากความเค็ม ช่วยทำให้รสชาติอาหารอร่อยขึ้น เกิดความอยากรับประทานอาหารมากขึ้น เมื่อรับประทานอาหาร ในปริมาณมากเกินไป ก็จะเกิดการสะสมของไขมัน เพิ่มขึ้นนั่นเอง
- รับประทานขนมขบเคี้ยว และ ขนมหวานมากเกินไป
- ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือ ชานมบ่อย
- ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือ เป็นโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น
ไขมันพอกตับอาการเป็นอย่างไร?
อย่างที่บอกไปว่า โรคไขมันพอกตับ เป็นภัยเงียบ ดังนั้นผู้ที่ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ จะไม่รู้ตัว ในช่วงแรกอาจจะรู้สึกแค่
– อ่อนเพลีย
– เหนื่อยง่าย
– เบื่ออาหาร
– อาเจียน ฯลฯ
จึงคิดว่าตนเองทำงานหนัก พักผ่อนน้อย จึงเกิดการป่วยทั่วๆ ไป หรือบางคน อาจจะมีน้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจริงๆ แล้วโรคไขมันพอกตับอาการ จะค่อยๆ แสดงออกมา โดยแบ่งไขมันพอกตับ 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : มีปริมาณไขมัน สะสมในตับ เกิน 5 – 10% แต่ยังไม่เกิดการอักเสบของตับ
- ระยะที่ 2 : เกิดโรคตับอักเสบ หากปล่อยไว้นานเกิน 6 เดือน จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง
- ระยะที่ 3 : เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และ มีพังพืดเกิดขึ้นภายในตับด้วย
- ระยะที่ 4 : เกิดแผลในตับ และ เกิดเป็นโรคตับแข็ง สามารถนำไปสู่โรคมะเร็งตับได้อีกด้วย ต้องบอกเลยว่า พอเข้าสู่ช่วงนี้ เป็นช่วงที่รักษายากที่สุด เนื่องจากแผลที่เกิดแล้ว จะไม่มีทางรักษาหายได้เลย ทำได้เพียงควบคุมอาการ ไม่ให้หนักขึ้นเท่านั้นเอง
ดังนั้นคงตอบคำถาม ให้กับทุกท่านได้แล้วว่า “โรคไขมันพอกตับ สามารถนำไปสู่ โรคตับแข็งได้ อย่างแน่นอน” ซ้ำร้าย หากไม่รู้ตัว แล้วปล่อยทิ้งไว้ ก็อาจนำไปสู่โรคมะเร็งตับได้เช่นกัน ทั้งๆ ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ และ ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ช่างเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวอย่างแท้จริง!
โรคไขมันพอกตับ สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้หรือไม่?
อย่างที่กล่าวไปว่า โรคไขมันพอกตับ มีถึง 4 ระยะ แต่ละระยะ ก็ใช้เวลานาน กว่าจะแสดงอาการ ออกมาอย่างชัดเจน หากผู้ป่วยไม่รู้ตัวเอง ว่าป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ และยังคงทำพฤติกรรมซ้ำๆ เดิมๆ อยู่ตลอด ดังนั้นโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น
1. โรคสมองจากโรคตับ เกิดขึ้นจากตับถูกทำลาย จนไม่สามารถขับของเสียออกมาได้ ทำให้มีพิษสะสมในร่างกาย ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น มึนงง มือสั่น เกิดอาการชัก หากปล่อยให้โรคไขมันพอกตับ เข้าสู่ระยะที่ 3 และ 4 ก็อาจเป็นโรคจากสมองตับได้ เนื่องจากโรคนี้ มีผลจากตับอักเสบนั่นเอง
2. โรคดีซ่าน เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วย มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจาก การเป็นโรคตับอักเสบนั่นเอง
3. ท้องมาน เกิดจากการมีของเหลว อยู่ในท้องจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างเยื้อหุ้มช่องท้อง และ อวัยวะภายในช่องท้อง สังเกตได้ว่า บุคคลนั้นจะมีอาการท้องป่อง หน้าท้องยื่นออกมา โดยโรคท้องมาน มีผลจากการเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ และ ตับแข็งนั่นเอง
4. ตับวาย เกิดจากการเป็นโรคตับเรื้อรัง และ ไม่ได้รับการรักษา ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ โรคดีซ่าน รวมไปถึงมีน้ำในช่องท้องหรือ โรคท้องมาน มีเลือดออกในกระเพาะ และอื่นๆ ดังนั้น หากไม่อยากให้ตัวเอง เข้าสู่ภาวะของโรคตับวาย ก็ควรหมั่นเช็คอาการตัวเองให้ดี
จริงๆ แล้ว “เราไม่จำเป็นต้องรอให้ อาการไขมันพอกตับ แสดงออกมา แล้วค่อยพบแพทย์” เพราะอาการที่แสดงออกมา นั่นหมายถึงว่า เราอาจจะอยู่ในระยะอันตราย และ รักษาได้ยากแล้ว ดังนั้นเราควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อดูปริมาณสะสมของไขมันในร่างกายเรา และ ป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะดีที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องมานั่งคิดว่า ไขมันพอกตับ อาการ สาเหตุต่างๆ มันเกิดมาจากอะไร
รักษาโรคไขมันพอกตับอย่างไรให้ได้ผล?
อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า ไขมันพอกตับเกิดจาก ปริมาณไขมัน สะสมในร่างกาย มากเกินไป แล้วอะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้มีไขมัน เข้าไปอยู่ในร่างกายเราล่ะ? หากไม่ใช่การรับประทานอาหาร ในชีวิตประจำวันแบบผิดๆ ดังนั้นเมื่อรู้แล้วว่า ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุ ของการรับประทานอาหาร อย่างผิดวิธี วิธีที่ง่ายที่สุด ที่ทุกคนสามารถทำได้ก็คือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น
- รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม หรือ รับประทานอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ เช่น ข้าวกล้อง น้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาล แครอท กาแฟดำไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
- ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- ไม่รับประทานอาหารรสจัด
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่สูบบุหรี่
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นต้น
ทั้งนี้นอกจากการพบแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การรับประทานสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ช่วยลดไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% ได้รับการรับรองจาก อย. แล้วว่า มีคุณสมบัตรช่วย “ล้างไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย” ไม่ว่าจะเป็น ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสตอรอล ที่เป็นตัวการสำคัญ ของการเกิดโรคไขมันพอกตับนั่นเอง
หลังจากรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ตรีผลา FORTE ควบคู่กับการควบคุมอาหาร และ รับประทานอาหารอย่างถูกวิธีแล้ว
สามารถไปตรวจกับแพทย์ได้เลย แล้วจะพบว่า ระดับไตรกลีเซอไรด์ ระดับคอเลสตอรอล ค่าตับ ระดับน้ำตาลลดลงอย่างแน่นอน !
และอย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ก็อาจป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับได้ ซึ่ง ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิถูกคิดค้นสูตร และ ผลิตออกมา ให้ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าว สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย ถือว่าเป็นทางเลือกของการรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่ผู้รับประทานไม่ต้องเสี่ยง กับสารเคมีตกค้างในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยบำรุงจากภายใน ให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน เพราะทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ระบบขับถ่ายดีขึ้น ใครที่เป็นโรคอ้วน น้ำหนักก็จะค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ อย่างปลอดภัย
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?
Pingback: เลือกกินอย่างไรให้ตับแข็งแรง รวมเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ
Pingback: ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี
Pingback: ไขมันพอกตับอันตรายไหม? ทำไมคนไทยถึงเป็นจำนวนมาก