“ตับ” ต้องได้รับการบำรุง เป็นอย่างดี เนื่องจากตับเป็นอวัยวะภายใน ที่สำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก มีหน้าที่หลายอย่าง เช่น เป็นแหล่งสะสมสารอาหาร และ แปรรูป ไปใช้เป็นพลังงานตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย สร้างเกลือน้ำดี และ น้ำดี เพื่อนำไปสลายไขมัน ขับสารพิษออกจากร่างกาย สร้างโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น โดยการบำรุงตับที่ดีที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือ รับประทาน เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ โดยเฉพาะ
ทำไมต้องทานเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ?
ต้องเกริ่นก่อนว่า โรคไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหาร ในชีวิตประจำวัน แบบตามใจปาก สังเกตได้ว่า ของอร่อยมักเป็นของอ้วนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น ของทอด ของมัน ที่มีไขมันสูง อาหาร Junk Food ที่ทำจากแป้ง แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนช์ฟราย หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเหล้า เบียร์ และ ไวน์ เป็นต้น
หากเรารับประทาน เข้าไปจำนวนมาก ก็จะเกิดไขมันสะสมภายในร่างกาย เมื่อไขมันถูกนำไปใช้ และ เผาผลาญออกจากร่างกายไม่หมด จึงเกิดการสะสม จนไขมันไปพอกที่ตับนั่นเอง ดังนั้น เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ จึงจำเป็นมาก สำหรับทุกคน มิใช่แค่ผู้ป่วย ที่เป็นโรคไขมันพอกตับเท่านั้น เพราะนอกจากจะช่วยลดระดับไขมันในตับได้แล้ว ยังช่วยบำรุงร่างกายให้กับเราได้ด้วย
วิธีสังเกตไขมันพอกตับ อาการ สาเหตุของโรค
ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) เป็นภาวะที่มีไขมันสะสม ภายในตับ มากกว่า 5 – 10% โดยส่วนใหญ่แล้ว อยู่ในรูปแบบไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) โดยอาการไขมันพอกตับ ในระยะแรก ผู้ป่วยจะรู้สึกแค่
– อ่อนเพลีย
– มีปัสสาวะเหลือง
– อาเจียน
– รู้สึกอึดอัดในท้อง
– เบื่ออาหาร หรือ บางรายอาจจะรู้สึกหิว กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม จนน้ำหนักพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่รู้เลยว่า โรคไขมันพอกตับ ได้เกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว เนื่องจากโรคนี้ จะก่อตัวขึ้นอย่างเงียบๆ และ ใช้ระยะเวลาดำเนินโรค นานหลายสิบปี กว่าจะแสดงอาการออกมา ดังนั้นจึงไม่สามารถสังเกตด้วยตัวเองได้
วิธีที่เราจะทราบว่า ตัวเองป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ อยู่หรือไม่ ก็คือ “ตรวจสุขภาพประจำปี” เนื่องจากโรคนี้ มักตรวจพบโดยบังเอิญ จากการตรวจสุขภาพนี่ล่ะ เพราะอย่างที่บอกไปตอนต้นว่า สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ เกิดจากพฤติกรรม การรับประทานอาหารแบบตามใจปาก โดยแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ
1. ไขมันพอกตับเกิดจาก การดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือ ที่เรียกว่า Alcohol-related Fatty Liver Disease (AFLD)
2. ไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ แต่เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือ มีความผิดปกติ ของระบบเผาผลาญในร่างกาย และเป็นโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น หรือที่เรียกว่า Non-alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD)
แนะนำเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ
สำหรับ เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ หรือ อาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ มีหลายเมนูด้วยกัน หลักๆ แล้วขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ ที่นำมาประกอบอาหาร เช่น
1. ข้าวกล้อง
ข้าวกล้อง เป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ดังนั้นจึงอุดมไปด้วย สารอาหารต่างๆ มากมาย เช่น
– วิตามินบี ที่มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรเหน็บชา
– ฟอสฟอรัส ที่ช่วยทำให้กระดูก และ ฟันแข็งแรง
– ไฟเบอร์ ที่ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดการสะสมของไขมัน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และ ยังมีสารอาหารอีกมากมาย โดยผลการวิจัยจากหลายแห่งพบว่า ข้าวกล้องเหมาะสำหรับ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วย ถือว่าเป็นอาหาร ที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ และ คนที่ไม่ได้เป็นด้วย
เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ จากข้าวกล้อง เช่น ข้าวกล้องอบกระเทียม ข้าวกล้องอบธัญพืช ข้าวกล้องผัดสมุนไพร เป็นต้น
2. น้ำมันรำข้าว
หากจำเป็นต้องใช้น้ำมัน ในการประกอบ เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไขมันเกาะตับ ควรเลือกใช้น้ำมันรำข้าว จะดีกว่า เนื่องจากน้ำมันรำข้าว ผลิตจากรำข้าว และ จมูกข้าว มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุดในข้าวกล้อง มีสารแกมมาโอรีซานอล (Gamma Oryzanol) มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดไขมันพอกตับ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด และ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดคอเลสเตอรอลแบบ LDL หรือ ไขมันเลว อีกทั้งยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เป็นปกติได้อีกด้วย
3. กระเทียม
กระเทียม สำหรับใช้ประกอบอาหารนั้น มีส่วนช่วยลดไขมันพอกตับได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดระดับไขมันเลว ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และ ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วย
4. ปลาแซลมอน
เนื่องจากผู้ที่ป่วย เป็นโรคไขมันพอกตับ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ จำพวกเนื้อแดง อย่างเนื้อหมู เนื้อวัว ดังนั้นปลาทะเล จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มากที่สุด ทั้งนี้ควรเลือกรับประทาน ปลาทะเลน้ำลึก อย่างปลาแซลมอน เนื่องจากปลาแซลมอน อุดมไปด้วยไขมันชนิดดี ที่ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ของผู้ที่เป็นโรคไขมันพอกตับได้ด้วย
เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ จากปลาแซลมอน เช่น แซลมอนอบผักรวม แซลมอนอบสมุนไพร แซลมอนอบซอสอะโวคาโด เป็นต้น
5. กะหล่ำปลี
สำหรับผู้ป่วย ที่เป็นโรคไขมันพอกตับ จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องรับประทานผักในทุกมื้ออาหาร ซึ่งกะหล่ำปลี เป็นหนึ่งในผักที่มี กรดทาร์ทาริก (Tartaric Acid) ที่ช่วยยับยั้งและขัดขวาง ไม่ให้น้ำตาลและแป้ง กลายเป็นไขมัน จึงมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และ ลดน้ำหนักได้ด้วย ทั้งนี้การรับประทานกะหล่ำปลี ควรรับประทานแบบสุกเท่านั้น
เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ จากกะหล่ำปลี เช่น แกงจืดกะหล่ำปลี กะหล่ำปลีตุ๋นยาจีน กะหล่ำปลีนึ่ง กะหล่ำปลีห่อเต้าหู้นึ่ง เป็นต้น
6. สลัดผัก
แน่นอนว่าผัก เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ คงหนีไม่พ้น สลัดผักนั่นเอง โดยเราควรเลือกผักที่มีคุณสมบัติ ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้ เช่น
– อะโวคาโด ที่มีไขมันดีสูง สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
– มะเขือเทศ ที่มีส่วนช่วยกำจัดไขมันเลว ช่วยควบคุม และ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
– แตงกวา ที่มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เป็นต้น
ในส่วนของน้ำสลัด ก็ควรเลือกเป็นน้ำสลัดใส จะดีที่สุด
7. แกงเลียง
แกงเลียง เป็นอาหารสารพัดประโยชน์ สามารถทานได้ทุกคน เพราะมีผักนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็น ฟักทอง แครอท เห็ดเข็มทอง ฯลฯ อย่างฟักทองที่มีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด แครอทที่มีเบต้าแคโรทีน และ วิตามินหลากหลายชนิด ที่มีส่วนช่วยบำรุงตับ เห็ดเข็มทองที่มีไฟเบอร์สูง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และ ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นด้วย
8. อัลมอนด์ และ ถั่วต่างๆ
อัลมอนด์ และ ถั่วต่างๆ อย่าง แมคคาเดเมีย พิสตาชีโอ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นถั่วที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีไขมันดี อยู่ภายในเป็นจำนวนมาก แถมยังช่วยลดไขมันเลวในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ มีสารต้านอนุมูลอิสระ และคุณประโยชน์อื่นๆ อีกเพียบ หากผู้ที่เป็นโรคไขมันพอกตับจะเลือกดื่มนม ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย หรือ นมอัลมอนด์ จะดีที่สุด
9. น้ำเต้าหู้
โปรตีนจากถั่วเหลือง ในน้ำเต้าหู้ มีส่วนช่วยลดไขมัน และ ไตรกลีเซอไรด์ในตับได้ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน มีน้ำตาลในเลือดสูง ควรเลือกรับประทานน้ำเต้าหู้ ไม่ใส่น้ำตาล จะดีกว่าการดื่มนมทั่วไป เพราะช่วยควบคุม และ ลดระดับไขมัน ได้เป็นอย่างดี หรือจะนำเต้าหู้ ที่ทำจากถั่วเหลือง มาเป็นวัตถุดิบในการทำ เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ ก็ดีไม่น้อย เช่น ซุปเต้าหู้ สลัดเต้าหู้ เป็นต้น
10. กาแฟดำ
ภายในกาแฟดำ มีสารในกลุ่มไดเทอร์ปีน (Diterpene) ที่ส่งผลดีต่อตับ ในการช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ กำจัดสารเคมี และ สารพิษออกจากร่างกาย ลดความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อตับ ช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเกิดไขมันสะสมในตับ อีกทั้งกรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid) ในกาแฟ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และ ความดันโลหิตสูงได้ด้วย
บำรุงตับด้วยยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ
นอกจากการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วย เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดไขมันพอกตับ ได้อย่างตรงจุด ก็คือ การรับประทานสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ เช่น “ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% จำนวนมาก โดยสมุนไพรแต่ละชนิดนั้น มีคุณสมบัติช่วยลดไขมันพอกตับได้โดยตรง เช่น สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล ดอกคำฝอย ดีปลี ขิงแห้ง เจตมูลเพลิง กระวานเทศ เป็นต้น
อีกทั้งได้รับการรับรองจาก อย. ว่าปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการ ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ระดับคอเลสตอรอล ค่าตับ ระดับน้ำตาล ลดลงได้อย่างแน่นอน เป็นอีกหนึ่งแพทย์ทางเลือก สำหรับผู้ที่ต้องการลดไขมันพอกตับ ได้อย่างเห็นผล และ ตรงจุด สามารถช่วยบำรุงร่างกาย ในระยะยาวได้อีกด้วย
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจาก การกินแบบผิดๆ รู้สักนิดก่อนเป็นมะเร็งตับ
Pingback: ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี
Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด? เป็นแล้วตับแข็งได้จริงหรือ?
Pingback: ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?
คนเป็นโรคหัวใจ (ใส่เครื่องกระตุ้น) และโรคไขมันในเส้นเลือดสามารถทานยาสมุนไพรตัวนี้ได้ไหมค่ะ