อาการเบาหวาน ที่ไม่หวานเหมือนชื่อ สาเหตุ วิธีป้องกัน รักษา

แชร์ได้เลยค่ะ

โรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะขาดอินซูลิน (Insulin) หรือ อาจเกิดจากระบบดูดซึมน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ทำให้น้ำตาลเกิดการสะสมในเลือด มากจนเกินไป หากไม่เคยตรวจเบาหวาน หรือ รู้แล้วว่าตัวเองเป็นเบาหวาน แล้วแต่ไม่รีบรักษา ปล่อยให้อาการเบาหวานเรื้อรัง ก็จะส่งผลกระทบต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น ทำให้สายตาพร่ามัว เป็นแผลแล้วหายยาก หรือ อาจลุกลามไปยังระบบประสาท หัวใจ ไต เป็นต้น

อาการเบาหวาน เกิดจากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะขาดอินซูลิน หรือ เกิดจากระบบดูดซึมน้ำตาลในเลือดผิดปกติ

ลองเช็คดู คุณมีอาการเบาหวาน หรือไม่?

ลองเช็คดู คุณมีอาการเบาหวาน หรือไม่?
หิวบ่อย
กระหายน้ำบ่อย
ปากแห้ง
ปัสสาวะบ่อย 
น้ำหนักลด หรือ เพิ่มขึ้น ผิดปกติ 
สายตาพร่ามัว 
ปวดเมื่อยตามร่างกาย
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ
ชาที่ปลายมือ และ เท้า
หย่อนสมรรถภาพทางเพศ 
ผิวแห้ง คันตามผิวหนัง

อาการเบาหวาน สังเกตได้ไม่ยาก หากคุณมีอาการตามที่เราบอก ดังต่อไปนี้ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจเบาหวานทันที เพื่อให้แน่ใจว่า ตัวเองเป็นเบาหวานแล้วหรือยัง จะได้รีบรักษาเบาหวาน หรือ หาวิธีรักษาเบาหวานให้หายขาดโดยเร็วที่สุดนั่นเอง ซึ่งอาการเบาหวานโดยทั่วไป สังเกตได้ดังนี้

  1. รู้สึกหิวบ่อย
  2. รู้สึกกระหายน้ำบ่อย
  3. ปากแห้ง แตก เป็นขุย
  4. ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  5. น้ำหนักลด หรือ เพิ่มขึ้น อย่างผิดปกติ
  6. สายตาพร่ามัว
  7. ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  8. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  9. เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ
  10. รู้สึกชาที่ปลายมือ และ เท้า
  11. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  12. ผิวแห้ง คันตามผิวหนัง
  13. อารมณ์แปรปรวน

ประเภทเบาหวาน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

ประเภทเบาหวาน แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
1. เบาหวานประเภทที่ 1 : เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย จนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ มักพบในเด็ก  
2. เบาหวานประเภทที่ 2 : เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือ ดื้ออินซูลิน พบได้บ่อย จากพันธุกรรม อ้วน ไม่ออกกำลังกาย 
3. เบาหวานเกิดจากการตั้งครรภ์ : มักเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่  2 – 3 ของการตั้งครรภ์  
4. สาเหตุเบาหวานจำเพาะ : เช่น เกิดจากพันธุกรรม โรคของตับอ่อน การทานยาต่างๆ

เมื่อทราบแล้วว่า อาการเบาหวานเป็นอย่างไร สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวานอีกเรื่อง ก็คือ ประเภทเบาหวานนั่นเอง เพราะเบาหวานแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้

1. เบาหวานประเภทที่ 1 : เป็นอาการเบาหวาน ที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลาย จนทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ มักพบในเด็ก หรือ ผู้ที่ผู้มีอายุไม่เกิน 30 ปี

2. เบาหวานประเภทที่ 2 : เป็นอาการเบาหวาน ที่เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือ ดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นประเภทเบาหวานที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุเบาหวานชนิดนี้ อาจเกิดจากพันธุกรรม น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือ ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นต้น

3. เบาหวานเกิดจากการตั้งครรภ์ : มักเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่  2 – 3 ของการตั้งครรภ์ โดยสาเหตุเบาหวานประเภทนี้ เกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาการเบาหวานประเภทนี้ มักหายไปเองหลังคลอด

4. สาเหตุเบาหวานจำเพาะ : เป็นประเภทเบาหวาน ที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น เบาหวานเกิดจากพันธุกรรม เกิดจากโรคของตับอ่อน เกิดจากการรับประทานยา เป็นต้น

สาเหตุเบาหวาน เกิดจากอะไร

สาเหตุเบาหวาน เกิดจากอะไร
 1. กรรมพันธุ์ 
2. น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน 
3. ผู้สูงวัย 
4. เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน   
5. เกิดจากการรับประทานอาหาร 
6. เกิดจากการไม่ออกกำลังกาย 
6. เกิดจากการติดเชื้อไวรัส 
7. การได้รับยาบางชนิด  
8. การตั้งครรภ์

หลายคนอาจคิดว่า เบาหวานเกิดจากการกินของหวาน ของมัน หรือ ของทอด มากจนเกินไป แต่แท้ที่จริงแล้ว สาเหตุเบาหวานเกิดขึ้นได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น

1. กรรมพันธุ์ โดยเฉพาะคนที่มีพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เป็นโรคเบาหวานมาก่อน ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้

2. น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน เพราะยิ่งน้ำหนักมาก ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน เพราะไขมันมีส่วนทำให้ร่างกายดื้ออินซูลิน ระบบการจัดการน้ำตาล และ ไขมันลดลง จนทำให้มีอาการเบาหวานได้

3. ผู้สูงวัย เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ก็ลดลง

4. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจาก ความผิดปกติของตับอ่อน โดยตับอ่อนมีหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน หากตับอ่อนมีปัญหา หรือ เป็นโรคเกี่ยวกับตับอ่อน  เช่น ตับอ่อนอักเสบ ก็จะทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง

5. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจาก การรับประทานอาหาร เช่น ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง รสหวานจัด ของมัน ของทอด แป้ง น้ำหวาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

6. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจาก การไม่ออกกำลังกาย จนทำให้น้ำตาล เกิดการสะสมในเลือดง่าย เพราะการออกกำลังกาย มีผลดีต่อเผาผลาญน้ำตาลในเลือดนั่นเอง

6. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จนทำให้ตับอ่อนมีปัญหา ประสิทธิภาพในการหลั่งอินซูลินลดลง

7. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจาก การได้รับยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการหลั่งอินซูลิน

8. สาเหตุเบาหวานที่เกิดจาก การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายของหญิงตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการต้านการหลั่งอินซูลินได้

ป้องกันเบาหวานได้ หากทำตามนี้

ป้องกันเบาหวานได้ หากทำตามนี้
1. ทานข้าว หรือ แป้ง ไม่ขัดสี 
2. ผัก และ ผลไม้เป็นประจำ 
3. ทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ
4. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน ของมัน ของทอด ไขมันสูง อาหารแปรรูป 
5. งดของหวาน 
6. งดทานอาหารรสเค็ม
7. งดทานของหมัก 
8. งดดื่มแอลกอฮอล์
9. ดื่มน้ำเปล่า ประมาณ 8 – 10 แก้วต่อวัน
10. ห้ามใช้น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และ น้ำมันมะพร้าว ประกอบอาหาร 
11. ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือ ขาดมันเนย 
12. ออกกำลังกาย 3 – 5 วัน/สัปดาห์ 
13. งดสูบบุหรี่
14. ทานยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน

แม้เราจะทราบว่า สาเหตุเบาหวานบางอย่าง ยากต่อการหลีกเลี่ยง ที่จะไม่ให้เบาหวาน เกิดขึ้นกับเรา เช่น กรรมพันธุ์ การตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น แต่เราก็สามารถป้องกันไม่ให้เบาหวาน เกิดขึ้นกับเราได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  1. รับประทานข้าว หรือ แป้ง ที่ไม่ขัดสี ซึ่งเป็นวิธีรักษาเบาหวาน จากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้สูงจนเกินไป
  2. รับประทานผัก และ ผลไม้เป็นประจำ ประมาณ 2 – 3 มื้อต่อวัน โดยเฉพาะผัก สมุนไพรแก้เบาหวาน เช่น ตำลึง มะระขี้นก ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น
  3. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ครบทั้ง 3 มื้อ
  4. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ติดมัน ของมัน ของทอด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารแปรรูป
  5. งดรับประทานของหวาน ทั้งเบเกอรี่ เครื่องดื่ม อาหารรสหวาน แม้แต่น้ำตาลเทียม หรือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาลก็ควรงด
  6. งดรับประทานอาหาร ที่มีรสชาติเค็มทุกชนิด เช่น ขนมกรุบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  7. งดรับประทานของหมักดอง ทั้งผลไม้ดอง ผักดอง ปลาร้า
  8. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  9. ดื่มน้ำเปล่า ประมาณ 8 – 10 แก้วต่อวัน
  10. ห้ามใช้น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว ประกอบอาหาร โดยให้ใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง แทนจะดีกว่า
  11. หากต้องการดื่มนม ให้ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนย หรือ ขาดมันเนย ปริมาณ 250 มิลลิลิตรต่อวัน
  12. ออกกำลังกาย ครั้งละ 30 นาที ประมาณ 3 – 5 วันต่อสัปดาห์
  13. งดสูบบุหรี่
  14. รับประทานยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน เพื่อป้องกัน หรือ รักษาอาการเบาหวาน

ตรวจเบาหวาน มีหลายวิธี อย่าชะล่าใจ แล้วค่อยตรวจ

ตรวจเบาหวาน มีหลายวิธี อย่าชะล่าใจ แล้วค่อยตรวจ
1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากลดอาหาร 8 ชั่วโมง : เกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นเบาหวาน
2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้องอดอาหาร : เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
3. ตรวจการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด : เกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน
4. ตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม : เกิน 6.5% ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

หลายคนเป็นเบาหวานโดยไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยตรวจสุขภาพ หรือ ตรวจเบาหวานเลย ซึ่งเราแนะนำให้ทุกคน ตรวจเบาหวาน เป็นประจำทุกปี ซึ่งการตรวจเบาหวาน มีหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด หลังจากลดอาหาร 8 ชั่วโมง มักตรวจในตอนเช้า ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่รู้สึกว่า ตัวเองกำลังมีอาการเบาหวาน แต่ไม่แน่ใจว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ โดยแพทย์จะทำการตรวจ โดยมีเกณฑ์วัดดังนี้

  • ระดับน้ำตาลน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าปกติ
  • ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีความเสี่ยง ต่อการเป็นเบาหวาน แต่ยังไม่เป็นเบาหวาน
  • ระดับน้ำตาลเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด โดยไม่ต้องอดอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการเบาหวาน อย่างชัดเจน หากตรวจแล้วมีระดับน้ำตาลในเลือด ตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

3. ตรวจการตอบสนองของอินซูลินต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยแพทย์จะให้ดื่มน้ำ ที่ผสมน้ำตาลกลูโคสละลาย 75 กรัม แล้วทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังการดื่มน้ำ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน

4. ตรวจน้ำตาลเฉลี่ยสะสม หรือ ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (HbA1c) เป็นการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ว่าปกติหรือไม่ หากระดับน้ำตาลในเลือดมาก ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี ก็จะมากเช่นกัน ซึ่งค่าที่ได้หากพบตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

รักษาเบาหวานด้วยสมุนไพร วิธีแบบไทย ที่เห็นผลจริง

เมื่อทราบแล้วว่าตัวเองเป็นเบาหวาน นอกจากวิธีดูแลตัวเองที่เราแนะนำไปแล้ว แพทย์มักจะแนะนำให้ฉีดอินซูลิน เพื่อเป็นการรักษาเบาหวาน แต่หากฉีดแล้ว ก็มักจะต้องฉีดไปตลอดชีวิต รวมไปถึงการทานยาแผนปัจจุบัน ที่ต้องทานเป็นประจำ ยิ่งทานติดต่อนาน จะเกิดผลเสียมาก และ เป็นแก้ที่ปลายเหตุด้วย พอหมดฤทธิ์ยาก็อาจเป็นมากขึ้น ดังนั้นการรักษาเบาหวานด้วยสมุนไพร จึงเป็นหนึ่งในวิธีรักษาเบาหวาน ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

แต่ครั้นจะให้ไปหาสมุนไพรแก้เบาหวาน แต่ละชนิดมาทานเอง หรือ เอาสมุนไพรแก้เบาหวาน มาประกอบอาหาร ก็อาจทำให้เสียเวลาจนเกินไป และ หากปรุงสมุนไพรผิดสูตร ขาดองค์ความรู้ ก็อาจเกิดโทษ มากกว่าทำให้อาการเบาหวานหายไปด้วย เพราะการรักษาเบาหวานด้วยสมุนไพร ควรประกอบอยู่ในสูตรตำรับลงตัว ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ถึงจะเห็นผลในการรักษาที่ดี

ตรีผลา FORTE สกัดสมุนไพรแก้เบาหวาน มากถึง 22 ชนิด
ดูแลลึก ชัดเจน กว่ายาแก้เบาหวานทั่วไป
เคลียร์หลอดเลือด
เคลียร์น้ำตาลในเลือด น้ำตาลสะสมที่ต้นตอ
ส่งเสริมตับอ่อนหลั่งอินซูลินตามธรรมชาติ ดีได้เองจากข้างใน
ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันอุดตันเส้นเลือด
	เผาผลาญไขมัน 
ระบบไหลเวียนโลหิตดี 
แก้อาการชาปลายมือ เท้า
ป้องกันเบาหวานลงไต 
แผลหายเร็ว
ไม่มีอาการเบาหวาน ก็ทานได้

ดังนั้นการรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ที่ถูกปรุงในสูตรตำรับที่ลงตัวมาแล้ว จึงเป็นทางเลือกในการรักษาเบาหวานด้วยตัวเอง ที่นอกจากจะปลอดภัยแล้ว ยังเห็นผลดีอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน “ตรีผลา FORTE” จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ ที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ ปรุงในสูตรตำรับลงตัว ได้รับการรับรอง และ ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ และ ปลอดภัยจาก อ.ย. ถึงประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวาน จนมีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อมากที่สุด ยาวนานกว่า 30 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาเบาหวานด้วยตัวเอง โดยยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน “ตรีผลา FORTE” สกัดมาจากสมุนไพรแก้เบาหวาน มากถึง 22 ชนิด เช่น

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 ได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล
  • สารสกัดดอกคำฝอย
  • สารสกัดดีปลี
  • สารสกัดขิงแห้ง
  • สารสกัดเจตมูลเพลิง
  • สารสกัดกระวานเทศ
  • สารสกัดทองพันชั่ง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง
  • สารสกัดชุมเห็ดไทย
  • สารสกัดแก่นขี้เหล็ก
  • สารสกัดกำแพงเจ็ดชั้น
  • สารสกัดเถาวัลย์เปรียง

ซึ่งทั้งหมดนี้ มีส่วนช่วยรักษาเบาหวาน เบาหวานขึ้นตา และอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  1. ช่วยเคลียร์หลอดเลือดส่วนปลายที่แข็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  2. บำรุงตับ ปรับปรุงตับอ่อน ที่ทำหน้าที่ในการหลั่งอินซูลิน ทำงานได้ดีขึ้น
  3. ช่วยลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันพอกตับ ล้างไขมันในเลือด ไขมันอุดตันเส้นเลือด
  4. ล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ ล้างพิษตับ ล้างน้ำเหลืองเสีย
  5. ปรับสมดุลขับถ่าย สมดุลความดัน  
  6. ล้างน้ำเหลืองเสีย ช่วยทำให้แผลหายเร็ว แผลเบาหวาน แผลหายยาก ช่วยได้โดยตรง
  7. ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย
  8. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต บำรุงปลายประสาท แก้อาการชาปลายมือ และ เท้า
  9. ช่วยป้องกันเบาหวานลงไต ได้เป็นอย่างดี
  10. ไม่ต้องมีอาการเบาหวาน ก็ทานได้ เพราะช่วยบำรุงร่างกายทั้งระบบ

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top