ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ หลายคนจึงเลือกซื้ออาหารจากนอกบ้านรับประทาน มากกว่า การทำอาหารรับประทานเอง จึงทำให้ยากต่อการควบคุมปริมาณอาหาร และ เครื่องปรุงต่างๆ ทั้งน้ำตาล น้ำปลา น้ำมัน ฯลฯ หากเราไม่พิถีพิถัน ในการเลือกรับประทานมากนัก ก็จะทำให้ป่วยเป็นโรคต่างๆ ได้ เหมือนดังคำกล่าวว่าที่ “You are what you eat” ซึ่งหนึ่งในโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่พบบ่อยเลยก็คือ “น้ำตาลในเลือดสูง” ที่หลายคนเป็นแล้วมักไม่รู้ตัว หนำซ้ำใครที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ก็จะเพิ่มโอกาสให้เกิดโรคนี้ง่ายขึ้นไปอีก แต่อาการน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เกิดจากอะไรบ้าง อาการเป็นอย่างไร ป้องกัน และ รักษาได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคนกัน
น้ำตาลในเลือดสูง คืออะไร สาเหตุ
น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) เป็นภาวะที่ร่างกาย มีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ คืออยู่ระหว่าง 70 – 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร นั่นเอง หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่านี้ ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ ซึ่งสาเหตุของน้ำตาลในเลือดสูง มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1. ร่างกายดื้ออินซูลิน หรือ อินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายลดน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ไม่สามารถดึงพลังงานจากน้ำตาลไปใช้ได้ ก่อให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นอาการของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 นั่นเอง
2. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่มีไขมัน และ คาร์โบไฮเดรตสูง ของมัน ของทอด อาหารรสจัด ทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ของหมักดอง เป็นต้น
3. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นประจำ
4. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากได้รับยาบางประเภท ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ เพรดนิโซน (Prednisone) เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) เป็นต้น
5. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น ตับอ่อนอักเสบ ไทรอยด์
6. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากตั้งครรภ์
7. น้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากไม่ออกกำลังกาย
วิธีสังเกตอาการน้ำตาลในเลือดสูง
หากไม่ตรวจน้ำตาลในเลือด เราก็แทบไม่รู้เลยว่า ตัวเองมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงหรือไม่ เพราะอาการในช่วงแรกจะไม่แสดงออกมา เป็นแล้วมักไม่รู้ตัว จะมารู้ตัวอีกทีก็ตอนน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพราะอาการจะแสดงออกมาชัดเจน ดังนี้
- รู้สึกหิวบ่อย
- คอแห้ง กระหายน้ำบ่อย
- ปากแห้ง แตก เป็นขุย
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- น้ำหนักลดผิดปกติ
- สายตาพร่ามัว
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ
- รู้สึกชาที่ปลายมือ และ เท้า
- หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- ผิวแห้ง คันตามผิวหนัง
- อารมณ์แปรปรวน
- มีอาการซึม
- มีอาการกระตุก
ดังนั้นเราจำเป็นต้องตรวจน้ำตาล หรือ ตรวจร่างกายประจำปี อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอาการน้ำตาลในเลือดสูงเกิดขึ้นกับตัวเอง ที่อาจนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวาน และ โรคอื่นๆ ได้ในอนาคต
ระวัง! น้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน อันตรายถึงชีวิต
อาการน้ำตาลในเลือดสูง เป็นอาการที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะหากไม่คุมน้ำตาล ไม่คุมอาหาร หรือ ตรวจน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอแล้ว ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน ได้เช่นกัน หากมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน จำเป็นต้องนำส่งโรงพยาบาล เพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะอาจทำให้หมดสติ และ เสียชีวิตได้ โดยภาวะที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงฉับพลัน ที่พบได้บ่อย เช่น
1. ภาวะคิโตซิส (Diabetic ketoacidosis) หรือ DKA เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร พร้อมกับ ภาวะเลือดเป็นกรด โดยภาวะคิโตซิส เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน หรือ ดื้ออินซูลิน ร่วมกับการติดเชื้อ หรือ เป็นโรคต่างๆ และร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต
2. ภาวะไฮเปอร์ออสโมล่าร์ ไฮเปอร์ไกลซีมิก (Hyperosmolar Hyperglycemic State) หรือ HHS เป็นภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ ออสโมลาริตี้ในเลือดเกิน 320 มิลลิออสโมล์/กิโลกรัม มักเกิดกับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีสังเกตภาวะคิโตซิส และ ภาวะไฮเปอร์ออสโมล่าร์ ไฮเปอร์ไกลซีมิก เช่น กระหายน้ำผิดปกติ ผิวแห้ง ปากแห้ง แตก เป็นขุย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน หอบ เหนื่อย ปวดท้อง ลมหายใจมีกลิ่นเปรี้ยว เป็นต้น
อยากหายต้องรู้! น้ำตาลในเลือดสูง ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร
หากตรวจน้ำตาลในเลือดแล้วพบว่า ตัวเองมีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ก็อย่าได้กังวลใจแต่อย่างใด เพราะต่อให้รักษาไม่หายขาด แต่เราสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้เป็นปกติได้ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยวิธีรับมือกับอาการน้ำตาลในเลือดสูงนั้น หลักๆ แล้วอยู่ที่การคุมปริมาณอาหารในแต่ละวันให้เหมาะสม ต้องรู้ว่าน้ำตาลในเลือดสูง ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- น้ำตาลในเลือดสูง ห้ามกินอะไร
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล และ ไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ขนมหวาน ของมัน ของทอดทุกชนิด
2. ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต หลีกเลี่ยงแป้งขัดขาว เช่น ข้าวขาว ขนมปังแผ่นขาว เค้ก เบเกอรี่
3. งดทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วงสุก เงาะ เป็นต้น
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำหวานทุกชนิด
- น้ำตาลในเลือดสูง ควรกินอะไร
1. เลือกทานข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท หรือ ธัญพืช
2. เลือกทานผลไม้น้ำตาลต่ำ เช่น แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง แก้วมังกร เสาวรส ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เป็นต้น
3. เลือกทานผัก สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด เช่น มะระขี้นก มะเขือม่วง ตำลึง กระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
4. ดื่มน้ำสะอาด 8 แก้วต่อวัน
5. ใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน หรือ น้ำมันถั่วเหลือง ประกอบอาหาร
6. รับประทานยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด
เมื่อทราบแล้วว่า น้ำตาลในเลือดสูง ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ นักโภชนาการ หรือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อจัดตารางอาหาร และ ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ ให้เหมาะสม รวมไปถึงหมั่นตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และ ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย
เรื่องควรรู้ !! การนอน สำคัญต่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างไร ?
การนอนอย่างมีคุณภาพ คือ นอนหลับลึกสนิทต่อเนื่อง ที่เพียงพอของแต่บุคคล และ เข้านอนไม่เกินเที่ยงคืน เนื่องจากมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่สัมพันธ์กันของ Growth Hormone, Dopamine, Serotonin และ วงจรเมลาโตนินต่างๆ เกี่ยวข้องกับ ความสมบูรณ์ของอินซูลิน และ การดื้อต่ออินซูลินด้วย ดังนั้นหากไม่อยากให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ กำลังคุมระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ ก็ควรพักผ่อนให้เพียงพอด้วย
ยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ดูแลลึกถึงต้นตอ เลิกง้อยาเคมี
อย่างที่เคยกล่าวไปว่า อาการน้ำตาลในเลือดสูงจะดีขึ้นได้ หลักๆ แล้วอยู่ที่การเลือกกิน ต้องรู้ว่าน้ำตาลในเลือดสูง ควรกินอะไร ห้ามกินอะไร ซึ่งหนึ่งในตัวช่วย ที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง กลับสู่สภาวะปกติได้ แถมยังเป็นการรักษาไปในตัว นั่นก็คือ การกินยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
หากคุณเลือกกินยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด ที่มีสกัดจากสมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด 100% ในสูตรตำรับเฉพาะที่ลงตัวแล้ว คุณเองจะไม่ต้องกินยาเคมีด้วยซ้ำ เพราะหลากหลายวิจัยทางการแพทย์ค้นพบว่า สมุนไพรไทย สามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้จริง สามารถนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคได้ อีกทั้งผู้ที่มีอาการน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีสะสมด้วย สามารถกินติดต่อได้นาน ไม่เหมือนยาเคมี ที่กินนานแล้วอาจเกิดผลเสีย สารเคมีตกค้าง แก้ที่ปลายเหตุ แล้วมีบางช่วงอาจต้องหยุดยา ซึ่งอาจทำให้ร่างกายดื้อยามากกว่าเดิมด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด “ตรีผลา FORTE” จากศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ ที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะ ปรุงในสูตรตำรับลงตัว ได้รับการรับรอง ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ และ ปลอดภัยจาก อย. ถึงประสิทธิภาพในการลดน้ำตาลในเลือดได้จริง จนมีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อมากที่สุด ยาวนานกว่า 30 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ต้องการรักษาเบาหวาน โดยยาสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด “ตรีผลา FORTE” ผสานคุณค่าของสารสกัด จากสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือด มากถึง 22 ชนิด เช่น
- สารสกัดสมอทั้ง 5 ได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล
- สารสกัดดอกคำฝอย
- สารสกัดดีปลี
- สารสกัดขิงแห้ง
- สารสกัดเจตมูลเพลิง
- สารสกัดกระวานเทศ
- สารสกัดทองพันชั่ง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ ทองพันชั่งดอกขาว และ ทองพันช่างดอกเหลือง
- สารสกัดชุมเห็ดไทย
- สารสกัดแก่นขี้เหล็ก
- สารสกัดกำแพงเจ็ดชั้น
- สารสกัดเถาวัลย์เปรียง
โดยสารสกัดจากสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดนี้ นอกจากจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดสูงได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น
- ช่วยบำรุงตับ กระตุ้นตับอ่อนหลั่งอินซูลินได้ดีขึ้น
- ช่วยลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันพอกตับ ล้างไขมันในเลือด ไขมันอุดตันเส้นเลือด
- ช่วยเคลียร์หลอดเลือดส่วนปลายที่แข็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- ล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ ล้างพิษตับ ล้างน้ำเหลืองเสีย
- ปรับสมดุลขับถ่าย สมดุลความดัน
- ช่วยทำให้แผลเบาหวานหายเร็วขึ้น
- ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย
- ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต บำรุงปลายประสาท แก้อาการชาปลายมือ และ เท้า
- ป้องกันเบาหวานลงไต เบาหวานขึ้นตา และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
เรียกได้ว่าเป็นการรักษาน้ำตาลในเลือดสูงได้อย่างลงลึก ถึงต้นตอของโรค แถมป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ ได้อีก สามารถกินเพื่อบำรุงร่างกายได้ แม้ไม่เป็นโรคใดๆ ก็ตาม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ