เป็นเบาหวาน ระวัง! น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำหมดสติได้

เป็นเบาหวาน ระวัง! น้ำตาลในเลือดต่ำ ทำหมดสติได้

แชร์ได้เลยค่ะ

อย่างที่ทราบกันดีว่า คนเป็นเบาหวาน จำเป็นต้องคุมเบาหวาน ระดับน้ำตาล ให้อยู่ระหว่าง 70 – 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งการคุมเบาหวาน ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล ไขมันสูง หลีกเลี่ยงแป้งขัดขาว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำหวาน รวมไปถึงควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และ ออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งนอกจากการระมัดระวัง ไม่ให้น้ำตาลในเลือดสูงแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราอยากให้คนเป็นเบาหวาน ระมัดระวังด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือด ลดลงอย่างผิดปกติ โดยระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และ หากต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าอันตรายต่อชีวิตได้  ดังนั้นเราจะมาเจาะลึก ถึงภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ลักษณะอาการ วิธีป้องกัน ดูแลเบาหวาน น้ำตาลต่ำ ไปพร้อม ๆ กัน

น้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ต้องหมั่นตรวจเบาหวาน เช็คระดับน้ำตาล เพราะน้ำตาลต่ำ อาจทำให้หมดสติได้

สาเหตุของน้ำตาลในเลือดต่ำ

สาเหตุของน้ำตาลในเลือดต่ำ
กินยารักษาเบาหวานมากเกินไป กินยาไม่ตรงเวลา ยาไม่เหมาะสม
มีประวัติน้ำตาลต่ำ
ใช้อินซูลินมากเกินไป 
ทานอาหารไม่ตรงเวลา 
สารอาหารไม่เพียงพอ 
ทานคาร์โบไฮเดรตน้อยไป
ปรับเปลี่ยนสัดส่วนอาหาร โดยขาดความรู้ 
ร่างกายใช้กลูโคสเพิ่มขึ้น 
ร่างกายผลิตกลูโคสที่ตับน้อยลง 
ร่างกายไวต่ออินซูลิน 
ร่างกายกำจัดอินซูลินลดลง 
เป็นผู้สูงอายุ

น้ำตาลในเลือดต่ำ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผู้ที่เป็นเบาหวาน และ ไม่เป็นเบาหวาน แต่ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอาการเบาหวานอยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุของน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น

  1. ผลข้างเคียงจากการกินยารักษาเบาหวาน เช่น กินยารักษาเบาหวานมากเกินไป กินยาไม่ตรงเวลา ชนิดของยาไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย เป็นต้น
  2. มีประวัติภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ำ อาการหนักมาแล้ว
  3. ใช้อินซูลินมากเกินไป หรือ ระดับอินซูลิน อยู่ในกระแสเลือด มากเกินไป
  4. รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  5. รับประทานอาหารน้อยเกินไป จนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  6. รับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยจนเกินไป
  7. ปรับเปลี่ยนสัดส่วนอาหารเอง โดยขาดความรู้
  8. ร่างกายมีการใช้กลูโคสเพิ่มขึ้น เช่น ออกกำลังกาย
  9. ร่างกายผลิตกลูโคสที่ตับน้อยลง เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคตับแข็ง
  10. ร่างกายมีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น เช่น น้ำหนักตัวลดลง ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
  11. ร่างกายกำจัดอินซูลินหรือยารักษาเบาหวานลดลง เช่น การทำงานของไต หรือ ตับ เสื่อมลง
  12. เป็นผู้สูงอายุ

สังเกตให้ดี นี่คือ 20 อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

สังเกตให้ดี นี่คือ 20 อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ
1. อุณหภูมิร่างกายต่ำ
2. มือสั่น
3. ใจสั่นหวิว
4. ใจเต้นเร็ว
5. หงุดหงิด
6. กระสับกระส่าย 
7. ไม่มีสมาธิ
8. เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ
9. รู้สึกร้อนผ่าว
10. หิวบ่อย
11. อ่อนเพลีย
12. ปวดศีรษะ
13. มึนงง
14. สายตาพร่ามัว
15. ชารอบปาก
16. ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง เช่น พูดได้ช้าลง
17. มีอาการหลงลืม
18. มีอาการชัก
19. หน้าซีด
20. หมดสติ

หากคุณมีอาการเบาหวาน กำลังคุมเบาหวาน กินยาเบาหวานอยู่แล้ว และเกิดมีอาการเหล่านี้ขึ้นมา ถือเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณกำลังมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น

  1. อุณหภูมิร่างกายต่ำ
  2. มือสั่น
  3. ใจสั่นหวิว
  4. ใจเต้นเร็ว
  5. หงุดหงิด
  6. กระสับกระส่าย
  7. ไม่มีสมาธิ
  8. เหงื่อออกง่าย เหงื่อออกมากผิดปกติ
  9. รู้สึกร้อนผ่าว
  10. หิวบ่อย
  11. อ่อนเพลีย
  12. ปวดศีรษะ
  13. มึนงง
  14. สายตาพร่ามัว
  15. ชารอบปาก
  16. ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง เช่น พูดได้ช้าลง
  17. มีอาการหลงลืม
  18. มีอาการชัก
  19. หน้าซีด
  20. หมดสติ

หากคุณมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ตามที่เราบอกไปข้างต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นครบทุกข้อก็ได้ เราแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจเบาหวานอย่างละเอียด ด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น เจาะเลือด เพื่อดูว่าค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ กว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือไม่ เพื่อจะได้ทำการรักษา หรือ ใครที่เคยมีอาการน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว ให้หาวิธีเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ดื่มน้ำหวาน อมลูกอม ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป จนอาการชัก และ หมดสติ นั่นเอง

น้ำตาลในเลือดต่ำ รุนแรงแค่ไหน เรามีคำตอบ

อย่างที่บอกไปว่า หากน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจทำให้เราหมดสติได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะเกิดขึ้นกับทุกคนที่เป็นเบาหวานเสมอไป เพราะอาการเบาหวาน น้ำตาลต่ำ สามารถแบ่งความรุนแรงออกได้ 3 ระดับ ดังนี้

1. น้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับไม่รุนแรง (Mild hypoglycemia) หากเกิดแล้วจะไม่แสดงอาการ จะพบก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง   

2. น้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับปานกลาง (Moderate hypoglycemia) มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำแสดงออกมา เช่น ใจสั่น ใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก มึนงง วิงเวียน กระสับกระส่าย ชารอบปาก เป็นต้น

3. น้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับรุนแรง (Severe hypoglycemia) เมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หากรุนแรงมาก อาจถึงขั้นชักและหมดสติได้ในที่สุด

น้ำตาลในเลือดต่ำ รักษาด้วยตัวเองได้ ไม่ยาก

น้ำตาลในเลือดต่ำ รักษาด้วยตัวเองได้ ไม่ยาก
1. น้ำตาลในเลือดต่ำ ในเวลามื้ออาหาร ให้ทานคาร์โบไฮเดรตดูดซึมเร็ว 15 - 20 กรัม เช่น ลูกอม 3 เม็ด, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วรอ 15 นาที ค่อยเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว ถ้าต่ำอยู่ ให้ทานเพิ่มอีก 15 - 20 กรัม จนกว่าน้ำตาลในเลือดจะมากกว่า 70 มล./ดล. 
2. น้ำตาลในเลือดต่ำ นอกเวลามื้ออาหาร ให้ทานคาร์โบไฮเดรตดูดซึมช้า 15 - 20 กรัม เช่น ขนมปัง 1 แผ่น, กล้วย 1 ลูก, แอปเปิ้ล 1 ลูก แล้วรอ 15 นาที ค่อยเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว ถ้าต่ำอยู่ ให้ทานเพิ่มอีก 15 - 20 กรัม จนกว่าน้ำตาลในเลือดจะมากกว่า 70 มล./ดล.
3. หากอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์ 
4. ไม่ทานช็อคโกเลต คุกกี้ เค้ก 
5. หากเคยน้ำตาลต่ำอยู่แล้ว ให้บอกคนใกล้ชิดไว้ก่อน เผื่อชัก หมดสติ ว่าห้ามให้ดื่มน้ำหวาน หรือ ลูกอม เพราะอาจสำลักเข้าปอด ติดคอได้ 
6. หากวันไหนออกกำลังกายเยอะ ทานมื้อเย็นน้อย ให้ตรวจน้ำตาลตอนเที่ยงคืน เป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำกำเริบตอนกลางคืน

จุดประสงค์หลัก ของการรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ การเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น จนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้นสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน ทั้งที่เคยน้ำตาลต่ำ และ ไม่เคยน้ำตาลต่ำมาก่อน หากตรวจเบาหวานด้วยตัวเองแล้วพบว่า ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำจริง และยังมีสติอยู่ สามารถรักษาเบื้องต้น ด้วยตัวเองได้ ดังนี้

1. กรณีที่น้ำตาลในเลือดต่ำ และ ถึงเวลามื้ออาหารปกติของคุณ ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็ว ในปริมาณ 15 – 20 กรัม หรือ 1 ส่วน เช่น ลูกอม 3 เม็ด, น้ำส้มคั้น 120 – 180 ซีซี, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ, น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เป็นต้น แล้วรอประมาณ 15 นาที ค่อยเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วใหม่ หากน้ำตาลในเลือดยังต่ำอยู่ ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตอีก 15 – 20 กรัม จนกว่าน้ำตาลในเลือดจะมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

2. กรณีที่น้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ยังไม่ถึงเวลามื้ออาหารปกติของคุณ ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมช้า ในปริมาณ 15 – 20 กรัม หรือ 1 ส่วน เช่น ขนมปัง 1 แผ่น, กล้วย 1 ลูก, แอปเปิ้ล 1 ลูก, นมจืด 1 กล่อง เป็นต้น แล้วรอประมาณ 15 นาที ค่อยเจาะตรวจน้ำตาลปลายนิ้วใหม่ หากน้ำตาลในเลือดยังต่ำอยู่ ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตอีก 15 – 20 กรัม จนกว่าน้ำตาลในเลือดจะมากกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

3. กรณีที่ไม่มีเครื่องเจาะตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นของตัวเอง หากเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการเริ่มแสดงออกมา เมื่อรับประทานอาหารดังกล่าวแล้ว ให้รอประมาณ 15 นาที หากอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์

4. ไม่ควรรับประทานช็อคโกเลต คุกกี้ เค้ก เนื่องจากมีไขมันสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมน้ำตาลช้าลง

5. หากรู้ตัวว่าตัวเองมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว ให้บอกคนใกล้ชิดไว้ก่อน เผื่อกรณีน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือ หมดสติ โดยต้องกำชับคนใกล้ชิดว่า ห้ามให้ดื่มน้ำหวาน หรือ ลูกอม เพราะอาจสำลักเข้าปอด หรือ ติดคอได้ รวมถึงห้ามใส่มือ หรือ ช้อนเข้าไปในปาก และให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด

6. หากวันไหนออกกำลังกายเยอะ ทำกิจกรรมมากเป็นพิเศษ หรือ รับประทานอาหารมื้อเย็นน้อย แนะนำให้ตรวจน้ำตาลตอนเที่ยงคืนด้วย เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำกำเริบ ตอนกลางคืน

ไม่อยากน้ำตาลในเลือดต่ำ ต้องป้องกันตามนี้

ไม่อยากน้ำตาลในเลือดต่ำ ต้องป้องกันตามนี้
1. บันทึกวัน เวลา ปริมาณยารักษาเบาหวาน ที่ทานเข้าไป รวมถึงอินซูลินที่ฉีด 
2. บันทึกอาหาร ปริมาณอาหาร ที่ทานในแต่ละวัน 
3. ห้ามปรับยารักษาเบาหวาน ด้วยตัวเองเด็ดขาด 
4. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
5. พกลูกอมติดตัว 
6. ทานให้ตรงเวลา สัดส่วนเหมาะสม เน้นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน 
7. ตรวจเบาหวาน ตรวจสุขภาพประจำปี 
8. จดรายละเอียดเมื่อน้ำตาลต่ำไว้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ 
9. ทานยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดต่ำ อาการที่สามารถป้องกันได้ ง่ายมาก เพียงทำตามคำแนะนำของเราดังนี้

  1. หมั่นบันทึกวัน เวลา ปริมาณยารักษาเบาหวาน ที่รับประทานเข้าไป รวมถึงอินซูลินที่ฉีด เพราะยารักษาเบาหวาน มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หากใช้มากไป กินยาไม่ตรงเวลา ชนิดของยาไม่เหมาะสมกับผู้เป็นเบาหวาน ก็อาจส่งผลให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้
  2. หมั่นบันทึกอาหาร และ ปริมาณอาหาร ที่รับประทานในแต่ละวัน ว่าทานอะไรบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อจะได้ทราบว่าทานอะไรเข้าไป แล้วมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ จะได้ปรับอาหารให้สมดุล
  3. ห้ามปรับยารักษาเบาหวาน ด้วยตัวเองเด็ดขาด เพราะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
  4. หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ
  5. พกลูกอมติดตัว เพื่อป้องกันอาการเบาหวาน น้ำตาลต่ำกำเริบ
  6. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ในสัดส่วนที่เหมาะสม ตามคำแนะนำของแพทย์ และ เน้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน คือ ธัญพืช ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสีต่าง ๆ เพราะช่วยให้ระดับน้ำตาลไม่สูง – ต่ำ กะทันหันได้
  7. ตรวจเบาหวาน ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูค่าระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ ความดัน เป็นต้น
  8. จดรายละเอียดเมื่อน้ำตาลต่ำไว้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อปรับเปลี่ยนยา และ คำแนะนำให้เหมาะสมได้
  9. รับประทานยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ที่สกัดจากสมุนไพรธรรมชาติ 100% เพื่อเป็นการป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และเป็นการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง

ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน เกราะป้องกัน เบาหวาน น้ำตาลในเลือดต่ำ

อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า สาเหตุหนึ่งของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากผลข้างเคียงในการรับประทานยารักษาเบาหวาน ไม่ว่าจะเป็น การทานยารักษาเบาหวาน ในปริมาณที่มากเกินไป ทานติดต่อกันนาน ชนิดของยาไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน การฉีดอินซูลิน เป็นต้น ดังนั้นจะดีกว่าไหม หากเราสามารถรักษาเบาหวาน และ ระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ โดยไม่ต้องกังวลว่า น้ำตาลในเลือดจะต่ำลงตอนไหน และได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติด้วย

โดยหนึ่งในหนทางการป้องกัน รักษาเบาหวาน น้ำตาลในเลือดต่ำ ที่ปลอดภัย และ ดีต่อสุขภาพ นั่นก็คือ การรับประทานยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ที่สกัดจากสมุนไพร แก้ น้ำตาล ใน เลือด ต่ำ ซึ่งหนึ่งในผู้ผลิตยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ที่น่าเชื่อถือมายาวนานมากกว่า 30 ปี นั่นก็คือ “ศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ” โดยทางศูนย์แพทย์แผนไทย หมออรรถวุฒิ มียาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ที่สกัดจากสมุนไพร แก้ น้ำตาล ใน เลือด ต่ำ จนมีผู้ซื้อซ้ำ และ บอกต่อกันมากที่สุด ที่มีชื่อว่า “ตรีผลา FORTE”

ตรีผลา FORTE ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือดสูง แบบค่อยเป็นค่อยไป ปลอดภัย ป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันต่ำ บำรุงร่างกายทั้งระบบ

ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ตรีผลา FORTE เป็นยาตำรับสมุนไพร สกัดบริสุทธิ์ ได้รับการรับรอง ผ่านการตรวจวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ และ ปลอดภัยจาก อย. ถึงประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ให้ลดลงอย่างปลอดภัย แบบค่อยเป็นค่อยไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เป็นความดันโลหิตสูง และ ผู้มีความดันต่ำด้วย เพราะตัวยาจะไปช่วยปรับสมดุล ให้พอดี ไม่ต้องกังวลว่า ซึ่งจะทำให้ค่อยๆ ลดยาเคมีลงเรื่อย ๆ ควบคู่กันไป ไม่ต้องกังวลว่า จะทำให้ความดัน และ น้ำตาลในเลือดต่ำเกินเกณฑ์แต่อย่างใด เพราะ ไม่ได้ไปออกฤทธิ์กดไว้เหมือนยาเคมี โดยยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ตรีผลา FORTE อุดมไปด้วยสารสกัดมาจากสมุนไพรเข้มข้น มากถึง 22 ชนิด เช่น

  • สารสกัดสมอทั้ง 5 ได้แก่ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล
  • สารสกัดดอกคำฝอย
  • สารสกัดดีปลี
  • สารสกัดขิงแห้ง
  • สารสกัดเจตมูลเพลิง
  • สารสกัดกระวานเทศ
  • สารสกัดเถาวัลย์เปรียง

นอกจากนี้ ยาสมุนไพรรักษาเบาหวาน ตรีผลา FORTE ยังช่วยดูแลระบบภายในร่างกายได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น

  1. ล้างไขมันเกาะตับ ไขมันพอกตับ ล้างไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์
  2. ฟื้นฟู บำรุงตับอ่อน ให้หลั่งอินซูลินได้ปกติ
  3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือด ป้องกันเส้นเลือดอุดตัน
  4. ล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ ล้างพิษตับ ล้างน้ำเหลืองเสีย
  5. ปรับสมดุลขับถ่าย สมดุลความดัน  
  6. แผลเบาหวานหายเร็วขึ้น
  7. ป้องกันเบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต
  8. บำรุงสายตา จากอาการตาพร่ามัว เนื่องจากน้ำตาลในเลือดต่ำ
  9. ช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกาย ไม่ให้เกิดไขมัน น้ำตาลสะสม หรือ เป็นโรคอ้วน
  10. บำรุงปลายประสาท แก้อาการชาปลายมือ และ เท้า เป็นต้น
  11. หลังรับประทานไปแล้ว 2 – 3 เดือนขึ้นไป สามารถไปตรวจซ้ำได้เลย จะพบว่า ผลการตรวจค่า LAB ต่าง ๆ เช่น ความดัน ระดับน้ำตาล คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ค่าตับ ความหนืดของเลือด มีการเปลี่ยนแปลง ดีขึ้นตามลำดับ
  12. เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ทำให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า สบายตัว ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย   

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top