หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกว่า ร่างกายตัวเองอ่อนเพลียบ่อย ไม่ค่อยมีแรง ไม่กระปรี้กระเปร่าเหมือนเคย เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหารเลย ปัสสาวะเป็นสีเหลืองบ่อยครั้ง แถมเจ็บบริเวณใต้ซี่โครงขวา หรือ ตำแหน่งของตับด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า คุณอาจจะเป็น “โรคไขมันพอกตับ” หรือ “โรคไขมันเกาะตับ” ซึ่ง ไขมันพอกตับรักษา ให้หายได้ เพียงแค่ทำตามข้อมูลดีๆ ที่เรานำมาฝากกัน
ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?
ก่อนที่จะตอบคำถามว่า ไขมันพอกตับรักษา ได้จริงหรือไม่? เรามาทำความรู้จัก กับที่มาที่ไปของโรคนี้กันก่อน “ไขมันพอกตับ” (Fatty Liver Disease) หรือ จะเรียกว่า ไขมันเกาะตับก็ได้ โรคนี้เป็นภาวะที่มีไขมัน ชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สะสมอยู่ภายในตับ มากกว่า 5 – 10% เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1. โรคไขมันพอกตับ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-Related Fatty Liver Disease) เป็นการดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณ ที่ร่างกายสามารถรับได้ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลายปี
2. โรคไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) แต่เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น รับประทานอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรต และ ไขมันสูง ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด ไม่รับประทานผักผลไม้ หรืออาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน ก็ได้เช่นกัน
ซึ่ง “โรคไขมันพอกตับรักษาได้จริง” เพียงแต่เราต้องตรวจเจอโรค ให้เร็วที่สุด ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ ที่จะเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจโรคไขมันพอกตับ ตรวจเลือด เพื่อหาโรคนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว เพราะโรคนี้ไม่ได้มีอาการแสดงออกมาอย่างชัดเจน ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุด ที่จะหาโรคนี้เจออย่างรวดเร็ว ก็คือ การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี นั่นเอง
ไขมันเกาะตับร้ายแรงไหม ทำไมต้องตรวจเจอโรคให้เร็วที่สุด
ถาม : ไขมันเกาะตับร้ายแรงไหม?
ตอบ : ไขมันเกาะตับ ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่จะร้ายแรงหากปล่อยไว้นานไป โดยไม่ได้รับการรักษา เพราะอย่างที่บอกไปว่า อาการไขมันพอกตับ ไม่มีอาการแสดงออกมาชัดเจน พอเป็นก็เหมือนคนเจ็บป่วยโรคทั่วๆ ไป เนื่องจาก อาการไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 : ระยะเริ่มต้น ของการมีไขมัน ไตรกลีเซอไรด์ สะสมภายในตับ มากกว่า 5 – 10%มักไม่มีอาการแสดงออกมาอย่างชัดเจน ผู้ป่วยอาจรู้สึกแค่อ่อนเพลีย เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว เจ็บที่ใต้ซี่โครงขวาเป็นระยะ เป็นต้น ดังนั้นหากเราตรวจสุขภาพประจำปี หรือ ตรวจโรคไขมันพอกตับ ตรวจเลือดแล้วเจอ จะเป็นระยะไขมันพอกตับรักษาง่ายที่สุด
- ระยะที่ 2 :ระยะเข้าสู่ การเป็นโรคตับอักเสบ หากไม่รีบรักษา จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้ ระยะนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ปัสสาวะสีเข้ม แต่อุจจาระมีสีซีด ตัวเหลือง ปวดตามข้อ และปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
- ระยะที่ 3 :ระยะเข้าสู่ การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังถือว่าเป็นระยะร้ายแรงแล้ว เพราะมีพังผืดที่ตับ เซลล์ต่างๆ ภายในตับถูกทำลาย อุจจาระปนเลือด อาเจียนเป็นเลือด ข้อมือ ข้อเท้าบวม เนื่องจากตับไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และไม่สามารถกำจัดสารพิษในร่างกายได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลือง บวมตามข้อมือ ข้อเท้าอีกด้วย
- ระยะที่ 4 : ระยะเข้าสู่ การเป็นโรคตับแข็ง ถือว่าเป็น “ระยะร้ายแรงที่สุด” เพราะเซลล์ต่างๆ ของตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติแล้ว รักษาไม่ได้ ทำได้แค่ประคับประคองอาการเท่านั้น หากไม่ได้รับการรักษา มาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจพัฒนาไปสู่ โรคมะเร็งตับได้
ไขมันพอกตับรักษาอย่างไรได้บ้าง?
ไขมันพอกตับรักษาได้ ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และ แพทย์แผนทางเลือก ไม่ว่าจะเป็น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน ฯลฯ โดยเราขอนำข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ มาแบ่งปัน ให้กับทุกท่านได้ทราบกัน เผื่อนำไปสู่แนวทางการรักษา ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
1. การรักษา ด้วยยาแพทย์แผนปัจจุบัน
การรักษา โดยแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นแนวทางการรักษา ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเวลาเราตรวจเจอโรคไขมันพอกตับ ตรวจเลือดที่โรงพยาบาลแล้วเจอ ว่าเป็นโรคนี้จริงๆ แพทย์ก็จะทำการจ่ายยา ให้โดยทันที ซึ่งจริงๆ แล้วโรคไขมันพอกตับ เป็นโรคที่ไม่มียาแพทย์แผนปัจจุบันรักษาได้โดยตรง แต่แพทย์จะจ่ายยาในกลุ่มสแตติน (Statins) ให้แทน โดยยาในกลุ่มนี้ มีส่วนช่วยในการลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในกระแสเลือด (LDL) ลดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) และ เพิ่มปริมาณไขมันดี (HDL) ให้กับผู้ป่วยได้อีกด้วย
ในผู้ป่วยบางราย จะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือ มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน แพทย์ก็จะจ่ายยา ที่เพิ่มความไวต่ออินซูลินให้ด้วย เช่น ยาไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) นั่นเอง ทั้งนี้การรักษาด้วยยาแพทย์แผนปัจจุบัน ก็อาจส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยบางรายอยู่บ้าง เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือ บางรายหากเกิดอาการแพ้ ก็อาจจะปวดกล้ามเนื้อ และ ไม่มีแรง แต่หลักๆ แล้วก็คือการเสี่ยงต่อการมีสารเคมี ตกค้างในร่างกายนั่นเอง
2. การรักษา ด้วยยาแพทย์แผนจีน
การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ก็เป็นอีกหนึ่งศาสตร์ทางเลือก สำหรับหลายๆ คน ซึ่งการป่วยในโรคไขมันพอกตับ แพทย์แผนจีนจะจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคระบบทางเดินอาหาร ที่มีความเกี่ยวข้องกับตับด้วย โดยแพทย์แผนจีนจะทำการรักษา ด้วยการให้รับประทานยาจีน ที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของตับนั่นเอง
3. การรักษา ด้วยยาสมุนไพรแพทย์แผนไทย
ปัจจุบันนี้ มีผู้ที่เป็นไขมันพอกตับ รักษาด้วยการรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ จำนวนมาก เพราะเป็นการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง 100% โดยเฉพาะ “ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ที่สกัดจากสมุนไพร 100% มากถึง 22 ชนิด อาทิ สมอไทย สมอภิเภก สมอเทศ สมอดีงู สมอทะเล ดอกคำฝอย ดีปลี ขิงแห้ง เจตมูลเพลิง กระวานเทศ ทองพันชั่งดอกขาว ทองพันช่างดอกเหลือง เป็นต้น โดย ตรีผลา FORTE หมออรรถวุฒิ เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่ช่วยในการรักษาโรคไขมันพอกตับ และ บำรุงร่างกายในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น
– ลดน้ำตาล
– ลดคอเลสเตอรอล
– ลดระดับไตรกลีเซอไรด์
– ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
– ล้างสารพิษในร่างกาย
– ช่วยเพิ่มระบบการไหลเวียนของโลหิต ให้ดีขึ้น
– มีสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่สำคัญเป็นลิขสิทธิ์เพียงหนึ่งเดียว ของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจาก อย. ว่าเห็นผลจริง สามารถรักษาได้จริง เห็นผลการรักษา อย่างชัดเจน เพราะหลังจากรับประทานไป 2 – 3 เดือนแล้ว สามารถไปตรวจซ้ำได้เลย แล้วจะพบว่า ระดับน้ำตาล และ ระดับไขมันต่างๆ ที่อันตรายต่อร่างกาย ลดลงอย่างแน่นอน ร่างกายแข็งแรงขึ้น มีแรงในการใช้ชีวิต อีกทั้งสามารถรับประทานยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ควบคู่ไปกับ ยาแพทย์แผนปัจจุบัน ได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย
ทั้งนี้ ไม่ว่าเราจะป่วยเป็น โรคไขมันพอกตับ หรือไม่ หรือเลือกรักษาไขมันพอกตับ ด้วยวิธีไหนก็ตาม การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ถือว่าสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลี่ยงการรับประทานอาหาร ที่มีไขมันสูง รสหวานจัด รสเค็มจัด หรือหากป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ ก็ควรรับประทาน เมนูอาหารลดไขมันพอกตับ จะดีที่สุด โดยเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ เช่น ข้าวกล้องอบสมุนไพร สลัดผักน้ำใส แกงเลียง ต้มยำปลาน้ำใส เป็นต้น
หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเม้นท์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: เลือกกินอย่างไรให้ตับแข็งแรง รวมเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ
Pingback: ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี
Pingback: ไขมันพอกตับอันตรายไหม? ทำไมคนไทยถึงเป็นจำนวนมาก