ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี

ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี

แชร์ได้เลยค่ะ

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) หรือ ไขมันเกาะตับ เกิดจากการมีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สะสมมากกว่า 5 – 10% ของตับ โดยระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคไขมันพอกตับ เนื่องจากไม่มีสัญญาณเตือน และไม่มีอาการแสดงออกมาอย่างชัดเจน กว่าจะทราบได้ว่าเป็นโรคไขมันพอกตับ ก็เข้าสู่ ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ แล้ว อีกทั้งมักจะมีโรคอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น โรคตับอักเสบ มีพังผืดภายในตับ หากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจจะกลายเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด

ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ หากไม่ได้รับการรักษาทันที
อาจกลายเป็นโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้

ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับได้มีกี่ระยะ?

อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า โรคไขมันเกาะตับ หรือ อาการไขมันพอกตับ มักมาแบบไม่มีสัญญาณเตือน กว่า 50% ของผู้ที่เป็นโรคนี้ มักไม่รู้ตัว และกว่าจะทราบว่าตัวเอง เป็นโรคไขมันพอกตับ ก็เข้าสู่ ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ แล้ว แถมมีโรคอื่นๆ ตามมาด้วย โดยอาการไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1 คือ ระยะเริ่มต้นของโรคไขมันพอกตับ เป็นระยะที่เริ่มมีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ ก่อตัว และ สะสมในตับเกิน 5 – 10% ช่วงนี้อาการจะไม่แสดงออกมา ดังนั้นผู้ป่วยจะไม่มีทางทราบได้เลยว่า ตัวเองป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับอยู่ หากไม่บังเอิญตัวพบ จากการตรวจสุขภาพประจำปี แต่หากตรวจพบ ก็สามารถรักษาให้หายได้
  • ระยะที่ 2 คือ เริ่มเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับแล้ว มีอาการตับอักเสบ อาการที่แสดงออกมาในช่วงนี้ จะเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย มีไข้ ปวดเมื่อยร่างกาย ปวดท้อง บริเวณขวาบน ตรงตำแหน่งของตับ หรือ ปัสสาวะมีสีเข้ม หากไม่รีบรักษาภายใน 6 เดือน จะเริ่มเข้าสู่การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่ 3 คือ ระยะของการเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง มีพังผืดที่ตับ เซลล์ตับเริ่มถูกทำลาย อาการที่แสดงออกมาในช่วงนี้ คือ เริ่มเป็นดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง อาเจียน อุจจาระเป็นเลือด มีอาการบวมตามขา และข้อเท้า รู้สึกเวียนหัว และมีอาการมึนงงบ่อย
  • ระยะที่ 4 คือ ระยะที่เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มาตั้งแต่ต้น ก็จะกลายเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด  
อาการไขมันพอกตับแบ่งออกเป็น 4 ระยะ

สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ

โรคไขมันพอกตับ เป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุของโรคไขมันพอกตับ มีด้วยกัน 2 สาเหตุ คือ

1. โรคไขมันพอกตับ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-Related Fatty Liver Disease) เกิดกับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ เกินปริมาณที่กำหนด ดื่มเป็นประจำ จนทำให้เกิดไขมันสะสมภายในตับ เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับช้าเท่าไหร่ ก็มีโอกาสเป็นโรคตับแข็ง สูงมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

2. โรคไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) นอกจากจะเกิดกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์แต่ไม่บ่อยแล้ว ยังเกิดกับผู้ที่มีไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ ไม่เคยตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือดหรือตรวจสุขภาพประจำปี อาทิ

  • รับประทานอาหาร ที่มีรสจัด
  • รับประทานอาหาร ที่มีไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะของทอด
  • ดื่มน้ำอัดลม หรือ ชา กาแฟ ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เป็นประจำ
  • ดื่มน้ำผลไม้กล่อง ที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
  • ไม่รับประทานผัก และ ผลไม้
  • ลดน้ำหนัก ด้วยการรับประทานยาลดน้ำหนัก
  • อดอาหารจนร่างกาย ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำกว่ามาตรฐาน
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด สูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
อาการไขมันพอกตับมักมาแบบไม่มีสัญญาณเตือน ควรตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนที่จะเป็นมะเร็งตับ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โรคไขมันพอกตับ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ก็ตาม นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงมาก แม้กระทั่งเด็กอ้วน ที่ผู้ใหญ่มักเห็นว่าน่ารัก ก็มีความเสี่ยงโรคไขมันพอกตับสูงเช่นกัน

จากข้อมูลของ รศ.พญ. วรนุช จงศรีสวัสดิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ศึกษาเด็กที่อ้วนมากๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 96 คน พบว่า เป็นโรคไขมันพอกตับ สูงถึงร้อยละ 80 (จากการตรวจอัลตราซาวนด์ตับ) และ มีตับอักเสบสูงถึงร้อยละ 40 (จากการตรวจเลือด) นอกจากนี้เมื่อตรวจเด็กอ้วนกลุ่มนี้ ด้วยเครื่องไฟโบรสแกน พบว่า ประมาณร้อยละ 30 มีพังผืดในตับ มากกว่าปกติอีกด้วย ดังนั้นโรคไขมันพอกตับในเด็ก จึงเป็นอีกหนึ่งโรค ที่ผู้ปกครองควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
(อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161218145340.pdf)

แนวทางป้องกันและรักษาโรคไขมันพอกตับ

การป้องกันโรคไขมันพอกตับ ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง นั้นไม่ใช่เรื่องยาก เช่น

– รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่
– ไม่รับประทานอาหารประเภททอด หรือ มีไขมันมากเกินไป
– ไม่ดื่มน้ำอัดลม หรือ น้ำหวานที่มีปริมาณน้ำตาลสูง
– หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
– ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งลดไขมันพอกตับ


ก็ถือว่าสามารถป้องกันโรคไขมันพอกตับไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเองได้แล้ว

หากถามว่า โรคไขมันเกาะตับ ร้ายแรงไหม ก็ต้องบอกว่า “ร้ายแรง” เพราะหากเข้าสู่ ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ ก็สามารถนำไปสู่ โรคตับแข็งได้ แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อเป็นแล้ว ก็ควรรับประทานอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ เป็นเมนูอาหารลดไขมันพอกตับได้ เช่น ข้าวกล้อง แกงเลียงผักรวม ผัดผักรวมมิตร โดยใช้น้ำมันรำข้าว หรือ น้ำมันมะกอก ประกอบอาหาร หากรับประทานเนื้อสัตว์ ก็ควรหลีกเลี่ยงจำพวกเนื้อแดง เป็นต้น

ถาม : ไขมันเกาะตับร้ายแรงไหม?
ตอบ : ร้ายแรงแต่สามารถหายได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ

นอกจากการรักษาสุขภาพ ตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว การรักษาโรคไขมันพอกตับ สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

1. รักษาไขมันพอกตับ ด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน
เนื่องจากโรคไขมันพอกตับ จะตรวจเจอได้ก็ต่อเมื่อ เราไปตรวจสุขภาพประจำปี หรือ เลือกตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูค่าคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ตรวจไวรัสตับอักเสบ ตรวจความผิดปกติของตับ ด้วยการอัลตราซาวนด์ เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น


ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบัน จะรักษาด้วยการให้รับประทาน ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin) หรือ ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) หรือ ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ดังนั้นเราจำเป็นต้องตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนที่จะเข้าสู่ ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ แล้วจะได้รีบรักษา ให้หายขาดนั่นเอง

2. รักษาไขมันพอกตับ ด้วยการรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ
การรับประทาน ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ เป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษา ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีตกข้างในร่างกาย อีกทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นไขมันพอกตับ ก็สามารถรับประทานเพื่อป้องกันได้ด้วย เช่น ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่สกัดจากต้นตำรับสมุนไพร 100% ถึง 22 ชนิด นอกจากการช่วยรักษาโรคไขมันเกาะตับได้แล้ว ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ สามารถล้างสารเคมีตกค้างในตับ และ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การรับประทานยาสมุนไพรตัวเดียว สามารถครอบคลุมการรักษาได้หลายโรค เป็นการดูแลสุขภาพในระยะยาวเพราะป้องกันโรคไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นได้อีกด้วย

หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ


แชร์ได้เลยค่ะ

2 thoughts on “ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี”

  1. Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด? เป็นแล้วตับแข็งได้จริงหรือ?

  2. Pingback: ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top