เคยไหม? ที่เวลาเบ่งอุจจาระ แล้วมีเลือดออกอยู่บ่อยครั้ง หนึ่งในโรคที่ทำให้คุณเบ่งอุจจาระ แล้วมีเลือดออกมาได้ ก็คือโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) นั่นเอง โดยอาการริดสีดวงทวาร เป็นภาวะหลอดเลือดดำ บริเวณทวารหนัก โป่ง พอง บวมขึ้นมา จนยื่นเป็นติ่ง นูน หรือเป็นหัว เวลาเบ่งอุจจาระจึงทำให้ปริแตก เกิดเลือดออกมาได้ โดยริดสีดวงทวารนับว่าเป็นโรคที่ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่อาการริดสีดวงทวารจะเป็นๆ หายๆ จึงก่อให้เกิดความรำคาญใจกับผู้ที่เป็นอยู่ได้เช่นกัน
เช็คให้ชัวร์ คุณมีอาการริดสีดวงทวาร ประเภทไหน ?
อาการริดสีดวง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. อาการริดสีดวงทวารภายใน (Internal Hemorrhoids) เกิดขึ้นภายในทวารหนัก สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนัก จึงไม่สามารถมองเห็นได้ โดยหลอดเลือดมีการโป่งพอง แตก และมีเลือดออก แบ่งอาการริดสีดวงทวารภายใน ออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 : ริดสีดวงทวารมีขนาดเล็ก ไม่มีติ่งยื่นออกมาแต่อาจมีเลือดออก เวลาอุจจาระ หรือหลังอุจจาระเป็นบางครั้ง
- ระยะที่ 2 : ริดสีดวงทวาร มีขนาดใหญ่มากขึ้น เริ่มเป็นติ่งยื่นออกมาเวลาเบ่งอุจจาระ โดยติ่งสามารถหดกลับเข้าไปเองโดยอัตโนมัติ
- ระยะที่ 3 : ริดสีดวงทวาร มีขนาดใหญ่มากขึ้น มีติ่งยื่นออกมาเวลาเบ่งอุจจาระ แต่ติ่งไม่สามารถหดกลับเข้าไปเองได้เอง ต้องใช้นิ้วมือดันเข้าไป
- ระยะที่ 4 : ริดสีดวงทวาร มีขนาดใหญ่ เป็นติ่งยื่นออกมา โดยติ่งไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้แล้ว และมีอาการปวดร่วมด้วย
2.อาการริดสีดวงทวารภายนอก(External Hemorrhoids) เกิดที่ทวารหนักส่วนล่าง หรือ ปากรอยย่นทวารหนัก มีติ่งเนื้อนูน ยื่นออกมาจากทวารหนักสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
อาการริดสีดวงทวารที่แสนทรมาน ที่แท้สาเหตุเพราะแบบนี้ !!
อาการริดสีดวงทวาร สามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ โดยหลักๆ แล้ว มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น
- ชอบนั่งถ่ายอุจจาระนาน โดยเฉพาะคนที่ชอบเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ นั่งอ่านหนังสือขณะถ่ายอุจจาระ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการริดสีดวงทวาร ที่พบได้บ่อย
- นั่งทำงานนานๆโดยเฉพาะชาวออฟฟิศ มักเสี่ยงสูง เพราะจะเกิดเส้นเลือดบริเวณเชิงกรานถูกกดทับ และ เลือดไหลเวียนช้าลง ส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณทวารโป่งพองตาม กลายเป็นโรคริดสีดวงทวารได้ในที่สุด
- ไม่รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใย จนทำให้ระบบขับถ่ายผิดปกติ ท้องผูกเรื้อรัง
- ดื่มน้ำไม่เพียงพอจนท้องผูกบ่อย
- ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทำให้เนื้อเยื่อลำไส้อักเสบ หากเกิดการท้องผูก หรือ ท้องเสียบ่อย ก็จะส่งผลให้มีอาการริดสีดวงได้
- ชอบทานอาหารรสจัด ของหมักดอง
- มีพฤติกรรมเบ่งอุจจาระแรงๆจนทำให้หลอดเลือดโป่งพองได้ง่าย
- มีอาการท้องเสียบ่อยจนเกิดการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อหลอดเลือด
- ทานยาระบายบ่อยเกินไป
- ใช้ยาสวนอุจจาระบ่อยเกินไป
- มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักจนเกิดการกดทับ หรือ เกิดการบาดเจ็บ มีเลือดคั่งในหลอดเลือดได้
- มีอาการไอเรื้อรัง จนแรงดันในช่องท้อง เพิ่มมากขึ้น
- การยกของหนักบ่อยๆ ใช้แรงกำลังมาก
- อายุที่มากขึ้นส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบหลอดเลือดเสื่อม และโป่งพองได้ง่ายขึ้น
- กรรมพันธุ์เคยมีบุคคลในครอบครัวเคยเป็นริดสีดวงทวาร จึงมีโอกาสเกิดขึ้นกับตัวเองได้ง่าย
- เป็นโรคบางชนิดเช่น โรคตับแข็ง มีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคต่อมลูกหมากโต เป็นต้น
- น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือ เป็นโรคอ้วน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้อง และ อุ้งเชิงกรานสูงขึ้น
- กำลังตั้งครรภ์โดยน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการกดทับของเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงบวมได้ง่าย
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้อาการริดสีดวง เกิดขึ้นกับตัวคุณเอง แนะนำให้หลีกเลี่ยงพฤติกรรมข้างต้น เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการริดสีดวงทวารนั่นเอง
รู้เท่าทันสัญญาณแรกเริ่ม อาการริดสีดวงทวารเริ่มแรก !!
เมื่อพูดถึงอาการริดสีดวงทวาร เริ่มแรกหลายคนอาจไม่ทันสังเกตจนกระทั่งอาการเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น ริดสีดวงทวารไม่ใช่เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัวในชั่วขณะนึงเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ โดยอาการแรกเริ่มริดสีดวงทวาร มีสัญญาณดังนี้
- เจ็บที่บริเวณทวารหนัก มีความรู้สึกเจ็บปวดที่ทวารโดยเฉพาะขณะขับถ่ายหรือหลังการขับถ่าย
- ระคายเคืองหรือคันรู้สึกคันหรือระคายเคืองรอบๆ บริเวณทวารหนักมีอาการแสบ หรือเจ็บรูทวาร
- มีเลือดออกหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดคือการมีเลือดที่ทวารหนักออกหลังการขับถ่าย
- มีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากก้น เป็นติ่งเล็กๆ ที่บริเวณรอบรูทวาร
- รู้สึกเหมือนมีอุจจาระค้างที่ก้น หลังจากการขับถ่ายอาจมีความรู้สึกว่ายังมีอุจจาระค้างอยู่ที่ก้นและทำให้ไม่สบายตัวขณะเดิน หรือทำกิจกรรม
อาการริดสีดวงทวาร หายเองได้ไหม ต้องทำยังไง ถ้าอยากหาย !!!
การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่สามารถช่วยลดอาการและทำให้ริดสีดวงหายได้ด้วยการปฏิบัติดังนี้:
1. การนั่งแช่ในน้ำอุ่น : สามารถช่วยลดอาการบวม และหลีกเลี่ยงการเบ่งระหว่างการขับถ่าย สามารถช่วยป้องกันการเกิดริดสีดวงใหม่หรือการแตกของริดสีดวงที่มีอยู่ได้
2. รับประทานอาหารที่เหมาะสม :การบริโภคอาหารที่รวมไฟเบอร์สูงสามารถช่วยให้การขับถ่ายสะดวกขึ้นและลดความเสี่ยงของการเกิดริดสีดวง แต่ห้ามกินผักที่กระตุ้นริดสีดวง และหลีกเลี่ยงอาหารแสลง
3. การใช้ยา : ยาครีมหรือยาทา สำหรับริดสีดวงสามารถช่วยบรรเทาอาการได้แต่ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์
4. การใช้สมุนไพร : การใช้ยาสมุนไพรรักษาริดสีดวง ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ปลอดสารพิษและไม่เป็นอันตรายและตรงจุด นอกจากจะช่วยรักษาริดสีดวงได้ดีแล้วยังมีส่วนช่วยไหลเวียนเลือด ฟื้นฟูเซลล์และฟื้นฟูระบบขับถ่าย
อาการริดสีดวงทวาร อย่าชะล่าใจ!! แบบไหนควรไปพบแพทย์
โรคริดสีดวงทวารหนักเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและมักถูกมองข้าม เพราะรู้สึกว่าอาการมีแค่เพียงเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง โดยทั่วไป อาการของโรคนี้ทำให้เกิดความไม่สะดวกในชีวิตประจำวันในระยะแรกแต่อย่าชะล่าใจ !!หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาการสามารถพัฒนาไปสู่สถานะที่รุนแรงและเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ในกรณีที่มีอาการริดสีดวงทวารดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมทันที:
- ความรู้สึกคันและระคายเคืองบริเวณปากทวารหนัก:อาการคันและระคายเคืองอาจเป็นสัญญาณแรกของการเกิดริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อ
- อาการปวด, แดง, หรือบวมบริเวณปากทวารหนัก:อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงการอักเสบหรือการติดเชื้อในบริเวณทวารหนัก
- มีเลือดสดปนในอุจจาระ: การพบเลือดในปริมาณมากสามารถเป็นสัญญาณของริดสีดวงทวารหนักที่แตกหรือมีการอักเสบรุนแรง
- การพบก้อนหรือติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนัก:ก้อนเนื้อเหล่านี้เป็นริดสีดวงทวารหนักที่ยื่นออกมาและเกิดการอักเสบ เสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือการแตกของเส้นเลือด
- อาการกลั้นอุจจาระไม่ได้หรือมีความรู้สึกตุงหรือแน่นในบริเวณทวารหนัก:อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบทางเดินอุจจาระและควรได้รับการรักษาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การรักษาที่ทันเวลาสามารถช่วยลดอาการและป้องกันการพัฒนาของภาวะแทรกซ้อนจากโรคริดสีดวงทวารหนัก แพทย์อาจแนะนำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม, การใช้ยา, หรือในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัด
สรุป
ริดสีดวงทวารมีโอกาสที่จะหายเองได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ในระยะเริ่มต้น อาจไม่ต้องการรับการรักษาที่เฉพาะและสามารถบรรเทาด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง การดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในระยะที่อาการรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เพื่อวินิฉัยถึงระดับของอาการ และการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน