“ตับ” นั้นสำคัญไฉน ก่อนที่เราจะพูดถึง อาการไขมันพอกตับ แนวทางการป้องกัน และ การรักษาอย่างถูกวิธี เราควรรู้ก่อนว่า
“ตับ” คือ อวัยวะภายใน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณชายโครงขวาใต้กระบังลม มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำหน้าที่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
– การนำสารอาหารต่างๆ ที่ถูกย่อยแล้ว มาปรับใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
– เก็บสารอาหารต่างๆ เพื่อนำไปสร้างโปรตีน ที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว
– กำจัดของเสีย และ สารพิษออกจากร่างกาย
– สร้างน้ำดีเพื่อละลายไขมัน และ ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น
– สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
ดังนั้นการดูแลรักษาตับ เพื่อไม่ให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไขมันพอกตับ โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สู่การมีชีวิตยืนยาวนั่นเอง
อาการไขมันพอกตับเป็นอย่างไร?
ไขมันพอกตับ (Fatty Liver Disease) คือ ภาวะของการมีไขมัน สะสมมากกว่า 5 – 10% ของน้ำหนักตับ โดยส่วนใหญ่เป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มักจะเป็นโรคไขมันพอกตับร่วมด้วย
ซึ่ง อาการไขมันพอกตับ ในช่วงแรก มักไม่แสดงออกมา และ หากตรวจเจอช้า ก็อาจนำไปสู่โรคตับอักเสบ มีพังผืดภายในตับ เป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด แสดงให้เห็นว่า มิใช่แค่คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ และ สูบบุหรี่เป็นประจำเท่านั้น ที่สามารถเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ แต่ผู้ที่เป็นไขมันพอกตับ ก็สามารถเป็นโรคตับแข็ง และ มะเร็งตับได้เช่นกัน
ปัจจุบันในประเทศไทย มีผู้ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับสูงขึ้น และ เป็นโรคเกี่ยวกับตับ ที่พบบ่อยมากที่สุด อันเนื่องมาจากโรคอ้วน การมีปริมาณไขมันสะสมในร่างกาย และ ตับ จำนวนมากเกินไป ดังนั้นไขมันพอกตับ จึงเป็นอีกหนึ่งโรค ที่ควรระมัดระวัง ไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งสาเหตุหลักของโรคไขมันพอกตับ อาการต่างๆ ที่แสดงออกมา ล้วนมาจากการพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวันแบบผิดๆ กว่าจะรู้ตัว ก็เข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับได้ก็สายเสียแล้ว
ผู้ที่เป็นไขมันพอกตับ อาการที่แสดงออกในระยะแรก จะเป็นแค่ความรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนเล็กน้อยเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ได้เอะใจว่า แท้ที่จริงแล้ว ตนเองเป็นป่วยโรคไขมันพอกตับ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะเริ่มรู้สึกแน่น บริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว มีรอยคล้ำที่คอ รักแร้ หรือข้อพับ เป็นต้น
ซึ่งโรคไขมันพอกตับ ใช้ระยะเวลานานหลายปี กว่าจะแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน โดย อาการไขมันพอกตับ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- ระยะที่ 1 : ระยะเริ่มต้น ของการมีไขมันสะสมในตับ เกิน 5 – 10% ของน้ำหนักตับ
- ระยะที่ 2 : เริ่มเกิดอาการตับอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็ว จะนำไปสู่การเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง
- ระยะที่ 3 : เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และ กลายเป็นพังผืดที่ตับ
- ระยะที่ 4 : เซลล์ตับถูกทำลาย อันเป็นสาเหตุของการนำไปสู่โรคตับแข็ง และ มะเร็งตับได้ในที่สุด หากปล่อยให้อาการไขมันพอกตับเข้าสู่ระยะนี้ จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาใดๆ ทั้งสิ้น ทำได้เพียงประคับประคอง ควบคุม และ ระมัดระวังพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตไปได้นั่นเอง
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นไขมันพอกตับ?
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า อาการไขมันพอกตับ ที่แสดงออกช่วงแรกนั้นแทบดูไม่ออก ผู้ป่วยจึงแทบไม่รู้เลยว่า ตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ เพราะต้องอาศัยระยะเวลานานมาก กว่าอาการไขมันพอกตับจะแสดงออกมาชัดเจน และ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว ก็เข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับทีก็สายเสียแล้ว
ดังนั้นโรคไขมันพอกตับ จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจ และ วินิจฉัยโรคเท่านั้น หากเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่สบาย มีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเพียงเล็กน้อย ก็ควรทำการพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียดจะดีที่สุด ซึ่งการตรวจไขมันพอกตับ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
- ตรวจระดับไขมันในเลือด เพื่อดูค่าคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
- ตรวจเลือด เพื่อดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
- ตรวจไวรัสตับอักเสบทุกชนิด
- ตรวจความผิดปกติของตับ ด้วยการอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอ็กซเรย์ด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI)
- เจาะเนื้อเยื่อเพื่อตรวจ และอื่นๆ อีกมากมาย
สาเหตุและพฤติกรรมที่นำไปสู่โรคไขมันพอกตับ
อาการไขมันพอกตับ ที่แสดงออกมานั้น มีสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้ 2 สาเหตุ ได้แก่
- ไขมันพอกตับ ที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) : การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีส่วนทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับ และ ตับแข็งนั่นเอง
- ไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease) : ผู้ที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ แต่ป่วยเป็นโรคบางอย่าง ก็มีโอกาสเกิดโรคไขมันพอกตับได้เช่นกัน รวมไปถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตผิดๆ และทำซ้ำๆ เดิมๆ เป็นระยะเวลายาวนานหลายปี เช่น
- รับประทานอาหารที่มีรสจัด และ มีปริมาณไขมันมากเกินไป
- ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ เพราะในน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลสูง
- ไม่รับประทานผัก และ ผลไม้
- ลดน้ำหนักอย่างหักโหม หรือ ผิดวิธี เช่น รับประทานยาลดน้ำหนัก อดอาหาร ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
- ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้กระบวนการผลิตเซลล์ต่างๆ ช้าลง ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง
- ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด สูงเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งถือว่าผิดปกติ
- ลำไส้ผิดปกติ ไม่ดูดซึมสารอาหาร
- มีปริมาณน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน
- ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
- มีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
- ระบบเผาผลาญ หรือ เมตาบอลิซึม (Metabolism) มีปัญหา
- ไม่เคยตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือด ตรวจสุขภาพประจำปี
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคไขมันพอกตับ
เมื่อเราทราบถึงสาเหตุ และ พฤติกรรมที่นำไปสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไขมันพอกตับ หรือ ทำให้อาการไขมันพอกตับ กำเริบขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากปฏิบัติตัวตามที่เราบอกดังต่อไปนี้
- รับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ และ ไม่รับประทานอาหาร ที่มีรสจัดมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น รสเปรี้ยวจัด รสหวานจัด หรือ รสเค็มจัดก็ตาม
- หลีกเลี่ยงอาหาร ที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย ชีส ครีม เพราะไขมันอิ่มตัว เป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพ หากได้รับเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป โดยกระทรวงสาธารณะสุข กำหนดให้บริโภคไขมันอิ่มตัวไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา แต่หากใครที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรับประทานไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา โดยให้เราจำไว้ง่ายๆ ว่า อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง มักมาคู่กับคอเลสเตอรอลสูงอันเป็นสาเหตุของการเป็นโรคไขมันพอกตับนั่นเอง
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน ขนมขบเคี้ยว หรือ อาหารขยะ (Junk Food) เช่น ขนมอบกรอบ เฟรนช์ฟรายส์ แฮมเบอร์เกอร์ โดนัท ฯลฯ
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน อาหารแปรรูป เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมสูง เช่น ไส้กรอก หมูยอ
- รับประทานผัก และ ผลไม้เป็นประจำ เพราะกากใยมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายดี และ ผักบางชนิด มีฤทธิ์เป็น สมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ได้ด้วย
- รับประทานยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ เพื่อเป็นการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ
- หลีกเลี่ยง หรือ ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หากจำเป็นต้องดื่ม ผู้ชายควรดื่มไม่เกินวันละ 2 แก้ว ส่วนผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้ว
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารที่อยู่ในบุหรี่ ส่งผลให้ตับทำงานหนักมากขึ้น
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะหากน้ำหนักเกินมาตรฐาน ก็อาจนำไปสู่การเป็นโรคอ้วน และ โรคไขมันพอกตับ ได้ในที่สุด
- หากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ต้องควบคุมระดับน้ำตาล ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ห้ามลดน้ำหนัก ด้วยการรับประทานยาลดน้ำหนัก หรือ อดอาหาร หากต้องการลดน้ำหนัก ก็ไม่ควรลดเกิน 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่งลดไขมันพอกตับ อย่างน้อยวันละ 30 นาที เป็นประจำ 3 – 4 วันต่อสัปดาห์
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจสุขภาพ จะทำให้เราได้ตรวจไขมันพอกตับ ตรวจเลือดด้วย ซึ่งทำให้เราทราบได้ว่าตัวเองเป็นโรคไขมันพอกตับหรือไม่
วิธีเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยไขมันพอกตับ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ จำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะกับคนที่เป็นไขมันเกาะตับ โดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้ อาการไขมันพอกตับ ลุกลามมากยิ่งขึ้น หรือใครที่ประกอบอาหารทานเอง ก็ควรเลือกวัตถุดิบในการประกอบ เมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไขมันเกาะตับ เช่นกัน ดังนี้
- เลือกรับประทานข้าวกล้อง
เนื่องจากผู้ที่เป็นไขมันพอกตับ ควรรับประทานข้าว ที่ไม่ผ่านการขัดสี อีกทั้งข้าวกล้อง ยังมีวิตามินบี และ ไฟเบอร์สูง มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น รวมไปถึงดักจับไขมันได้ด้วย - เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ ที่ไม่ใช่เนื้อแดง และ ไม่ติดมัน
เช่น เนื้อไก่ เพื่อหลีกเลี่ยงไขมัน และ คอเลสเตอรอล หากเลือกรับประทานปลา ก็ควรเลือกเป็นปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู เป็นต้น - เลือกใช้น้ำมันมะกอก หรือ น้ำมันรำข้าว
การใช้มันน้ำมะกอก หรือ น้ำมันรำข้าวในการปรุงเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยไขมันพอกตับ ควรจำกัดปริมาณน้ำมัน ที่ใช้ประกอบอาหาร และ ไม่ควรรับประทานอาหาร ประเภททอด หรือ ผัดบ่อยเกินไป ควรเลือกรับประทานอาหาร ประเภทนึ่ง ต้ม หรือ อบ จะดีต่อสุขภาพมากกว่า - เลือกผักและสมุนไพร ที่มีส่วนช่วยล้างพิษ ลดปริมาณไขมันในตับ บำรุงตับ และเลือด
ผัก และ สมุนไพรที่มีส่วนช่วยล้างพิษ ลดปริมาณไขมันในตับ บำรุงตับ และเลือด มาประกอบเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ เช่น กระเทียม กะหล่ำปลี บล็อกโคลี ผักคะน้า ผักกาด ผักตำลึง ผักบุ้ง แครอท หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด้ เป็นต้น - รับประทานถั่ว และ ธัญพืชชนิดต่างๆ
เช่น อัลมอนด์ แมคคาเดเมีย ถั่วพิสตาชิโอ เนื่องจากช่วยลดไขมันอิ่มตัว และ ลดคอเลสเตอรอลได้ - รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
เช่น แตงโม ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล มะละกอ เป็นต้น - เลือกรับประทานนมพร่องมันเนย นมขาดมันเนย หรือ น้ำเต้าหู้
รักษาอาการไขมันพอกตับอย่างไรดี?
เมื่อตรวจพบว่า เป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว ผู้ป่วยทุกท่าน ควรรักษาสุขภาพตัวเอง อย่างเคร่งครัด ตามที่เราแนะนำข้างต้น เพื่อลดไขมันสะสมในตับให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงลดการอักเสบของตับ เพื่อฟื้นฟูสภาพตับ ให้กลับมาเป็นปกติ โดยเราอยากให้ทุกท่านตระหนักว่า อาการไขมันพอกตับที่แสดงออกมา แต่ละระยะนั้น สามารถนำไปสู่โรคเกี่ยวกับตับขั้นร้ายแรงได้ ซึ่งวิธีรักษาไขมันพอกตับนั้นไม่ยาก ดังนี้
1. เมื่อตรวจพบว่า เป็นโรคไขมันพอกตับแล้ว ควรทำการพบแพทย์ตามนัด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเช็คระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ระดับไขมันในเลือด ดูค่าคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดเป็นประจำนั่นเอง
2. รับประทาน ยารักษาไขมันพอกตับ เช่น
– ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin) ซึ่งเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มสแตติน (Statins) มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้
– ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลิน เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin), ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) ซึ่งเป็นยาที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยการรับประทานยากลุ่มนี้ จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์เท่านั้น
นอกจากการรักษา โดยแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การเลือกใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ได้รับความนิยมสูงเช่นกัน เพราะนอกจากมีส่วนช่วยในการรักษาแล้ว ยังเป็นการป้องกันระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดโรคซ้ำได้อีกด้วย ซึ่งข้อดีของการใช้ยาสมุนไพร ก็คือ สามารถรักษาโรคได้หลายอย่าง เป็นการบำรุงสุขภาพจากภายใน ไม่ต้องเสี่ยงการรับผลจากสารเคมี รวมถึงค่าใช้จ่ายไม่สูงอีกด้วย
ทั้งนี้ควรเลือกยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่มีการรับรองทางการแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น “ยาตรีผลา FORTE โดยหมออรรถวุฒิ” ที่สกัดจากต้นตำรับสมุนไพรถึง 22 ชนิด เป็นยาสมุนไพร ที่มีส่วนช่วยในการรักษาโรคไขมันพอกตับ ลดคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ลดไขมันส่วนเกิน ล้างพิษตับ ล้างเมือกมัน ตะกรันในลำไส้ และ ช่วยปรับสมดุลขับถ่ายได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็น ยาสมุนไพรรักษาโรคไขมันพอกตับ ที่ครอบคลุมการรักษาได้หลายโรค ที่สำคัญสามารถรับประทานได้ ทั้งผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูงอีกด้วย
หากมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม สามารถคอมเมนต์สอบถามได้ เรามีเภสัชกร และ ผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา ทุกปัญหาสุขภาพ
Pingback: ไขมันพอกตับอันตรายไหม? ทำไมคนไทยถึงเป็นจำนวนมาก
Pingback: ข้อควรรู้ก่อนเข้าสู่ระยะอันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับเร็วยิ่งดี
Pingback: ไขมันพอกตับเกิดจากสาเหตุใด? เป็นแล้วตับแข็งได้จริงหรือ?
Pingback: เลือกกินอย่างไรให้ตับแข็งแรง รวมเมนูอาหารลดไขมันพอกตับ
Pingback: ไขมันพอกตับรักษาได้จริงหรือ?